การจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ทุ่งกะโล่ศึกษาโดยใช้โครงงานบูรณาการภูมิสังคมเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ชัชวาลย์ บุตรทอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ทุ่งกะโล่ศึกษาโดยใช้โครงงานบูรณาการภูมิสังคมเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนจากการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ทุ่งกะโล่ศึกษาโดยใช้โครงงานบูรณาการภูมิสังคมเป็นฐาน และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ทุ่งกะโล่ศึกษาโดยใช้โครงงานบูรณาการภูมิสังคมเป็นฐาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ใช้วิธีการทดลองแบบ One group pretest-posttest design กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสวนหลวงสาธิต สปจ.อุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 31 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ทุ่งกะโล่ศึกษาโดยใช้โครงงานบูรณาการภูมิสังคมเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน


       ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.97/89.35 2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ทุ่งกะโล่ศึกษาโดยใช้โครงงานบูรณาการภูมิสังคมเป็นฐาน อยู่ในระดับมาก (equation=4.32 และ S.D.=0.64)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

เกตุชพรรณ์ คำพุฒิ. (2561). การบูรณาการการจัดการเรียนรู้อาเซียนศึกษาและชายแดนศึกษา: บทสังเคราะห์จากโรงเรียนชายแดนอาเซียนของประเทศไทย. วารสารพัฒนาสังคม ปีที่ 20 ฉบับที่ 2, 151-171.

ชรินทร์ มั่งคั่ง และคณะ. (2564). นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรด้วยวิธีการเชิงพื้นที่: กรณีศึกษาหลักสูตรท้องถิ่นประวัติศาสตร์นครหริภุญไชย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2564), 630-644.

ชลิต อิฐไธสง ดำเกิง โถทอง และ วิลาศ โพธิศาร. (2561). การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์บ้านช่องแมว โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1, 69-82.

ทัศนีย์ อุ่นวิจิตร และคณะ. (2562). โครงการศึกษาประสบการณ์เรียนรู้ของเยาวชนชาติพันธุ์ในการสร้างความรู้ด้านนิเวศวัฒนธรรม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทีฆกุล ขำงาม และ ชัยวัฒน์ โตศิลา. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการสอน DACIR ที่มีต่อการเรียนรู้มโนทัศน์ทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2560), 1817-1832.

นราวิทย์ ดาวเรือง. (2557). การศึกษาประวัติศาสตร์ ตำนาน ความเชื่อต่อองค์พระธาตุสีแก้ว เพื่อสร้างการเรียนรู้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนบ้านสีแก้วอย่างมีส่วนร่วม. วารสารเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2557), 86-89.

เพียงฤทัย พุฒิคุณเกษม. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ส33265 โครงงานประวัติศาสตร์โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2557), 651-661.

ภูวเดช วงศ์โสม. (2561). การประยุกต์ใช้แนวคิดภูมิสังคมสำหรับการเรียนการสอนวิชาแบบสถาปัตยกรรมแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561), 201-217.

วรัมถ์ สุภานันท์ และ ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ทรงภูมิปัญญาช่วยเหลือเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 20 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2561), 180-190.

ศรีสุวรรณ จรรยา. (20 มกราคม 2554). ทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำบึงกะโล่ คือความไร้น้ำยาในปีความหลากหลายทางชีวภาพไทย. สยามรัฐ, หน้า 6(1/2).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564".

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุภัทรา หงษาวัน จารุณี มณีกุล และ ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานประวัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2562), 504-516.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

อรรฏ์ชณม์ สัจจะพัฒนกุล และ อัฐณียา สัจจะพัฒนะกุล. (2562). สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน: เตรียมพลเมืองเพื่อสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่อย่างมีส่วนร่วมผ่านหลักสูตรวิชาสังคมศึกษาเชิงพื้นที่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2562), 206-221.

Falk, J. &. (2013). Factors contributing to adult knowledge of science and tecnology. Journal of Research in Science Teaching, 50(4), 431-452.

Pekka Leviakangas, A. S. (2016). The Evolution of Finnish “Dream School"-Via Public Enterpreneurship from Innovative Concepts to National Scale-up. International Journal of Information and Education Technology, vol.6, No.7, July, 508-515.

Pongcharoen, C. (2015). POPULATION ECOLOGY AND REPRODUCTIVE BIOLOGY OF JAGOR'S WATER SNAKE, Enhvdris jagorii (Peters, 1863) AT BUNG KA LOH, UTTARADIT PROVINCE, THAILAND. Bangkok: Graduate School Chulalongkorn University.

RSA (The Royal Society for the Encouragement of Art, Manufactures and Commerce). (2012). Thinking about an Area Based Curriculum: A Guide for Practitioners. London: RSA Action and Research Center.