An Analysis of English Subject-Verb-Agreement and Verb Inflections by Morpho-Syntactic Approach for EFL Teaching at Rajamangala University of Technology, Thailand ความสอดคล้องระหว่างประธานกับกริยาและการผันกริยาในภาษาอังกฤษ โดยการวิเคราะห์ระดับไวยากรณ์ของหน่วยคำ สำหรับการสอนภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาต่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้จัดทำาขึ้นเพื่อพัฒนาการเขียนของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะ
ภาษาต่างประเทศ เรื่องความสอดคล้องระหว่างประธานกับกริยาและการผันกริยา
(Subject-Verb-Agreement: SVA) โดยใช้รูปแบบการดำาเนินการวิจัยแบบการวิจัยผสมวิธี 2
ขั้นตอน ในขั้นตอนแรก ด้านการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่าการผลิตโครงสร้าง SVA และรูปแบบ
กริยาที่ผันในภาษาอังกฤษ มีเพียงแค่หนึ่งระบบเท่านั้น โดยการวิเคราะห์ตามเฟรมเวิร์คมินิมัล
ลิสต์โปรแกรมในระดับไวยากรณ์ของหน่วยคำา จากในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษทั่วไปที่
ใช้ในปีการศึกษา 2563 โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ซึ่งมีระบบที่สัมพันธ์กัน
ระหว่างกฎของ SVA ในระดับวากยสัมพันธ์และกระบวนการผันกริยาในระดับวิทยาหน่วยคำาใน
ภาษาอังกฤษทำาให้สามารถสร้างโครงสร้าง SVA ได้ถูกต้องและครบทุกรูปแบบผ่านกระบวนการ
ผันกริยาในระดับวิทยาหน่วยคำา โดยการเติมหน่วยคำาท้าย (inflectional suffix) รากศัพท์ของ
คำากริยา และการแทนที่รากศัพท์ของกริยาด้วยคำาอื่น (suppletion) ส่วนในขั้นตอนการดำาเนิน
วิจัยขั้นที่ 2 มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล จำานวน 63 คน โดยกำาหนดขนาดของ
กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำาเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) และคัดเลือก
กลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการศึกษาพบว่า 1) เนื้อหาที่ได้สร้างขึ้นในสื่อการ
สอนตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching:
CLT) ในโปรแกรมพาวเวอร์พอยท์ (PowerPoint) ได้สร้างขึ้นจากการประยุกต์ใช้โมเดลของ
การวิเคราะห์เนื้อหา สำาหรับสร้างบทเรียนการเขียนภาษาอังกฤษ จำานวน 4 หัวข้อ ที่มีการรวม
ความรู้ด้านวากยสัมพันธ์ (syntax) และวิทยาหน่วยคำา (morphology) ของการสร้างคำา (word
formation) กริยาที่ผันในภาษาอังกฤษเพื่อผลิตโครงสร้าง SVA ในบริบทต่างๆ 2) นักศึกษาได้
คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นหลังจากใช้สื่อการสอนแบบ CLT อย่างมีนัยสำาคัญที่ค่า 0.001 และมีขนาด
ของผล (Cohen’s d) ที่ 1.18 ซึ่งเป็นค่าผลที่มีขนาดใหญ่มาก 3) มีผลคะแนนเฉลี่ยโดยภาพ
รวมจากการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการสอนแบบ CLT ที่ 4.71/ 5.00 มี
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.=.316) หรือมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด จากผลการวิจัยนี้
สามารถนำาไปใช้ประโยชน์ในการเรียนภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อการสอนแบบ CLT ที่บูรณาการความ
รู้ทั้งวากยสัมพันธ์ และวิทยาหน่วยคำาภาษาอังกฤษช่วยให้นักศึกษาสามารถเขียนโครงสร้าง SVA
ในภาษาอังกฤษและรูปแบบกริยาที่ผันได้ถูกต้องแม่นยำายิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
Adger, D. (2002). Core Syntax: A Minimalist Approach. (1st Ed.). USA.: Oxford University Press. Retrieved
Jan. 1, 2021, from http://www.pnu.ac.ir/Portal/file/?985502/nahv.pdf%20.
Bunnarong, L., Sudmuk, C., Aghaei, B. & Yordchim, S. (2020). Error Analysis on Subject- Verb Agreement and
Verbal Inflection in English Syntax of EFL Learners: A Case Study of Wang Klai Kangwon Campus’s
Freshmen. Elementary Education Online, 19(4), 3145-3156.
Carter R & McCarthy M. (2006). Cambridge Grammar of English: A Comprehensive Guide Spoken and
Written English Grammar and Usage. United Kingdom: Cambridge University Press.
Chang, I. Y, Chang, W. Y. (2012). The Effect of Student Learning Motivation on Learning Satisfaction.
International Journal of Organizational Innovation, 4(3), 281-305.
Chomsky, N. (1995). The Minimalist Program. Cambridge, MA: MIT Press.
EF EPI. EF English Proficiency Index. (2020). A Ranking of 100 Countries and Regions by English Skills.
Retrieved Mar. 25, 2021. from https://www.ef.co.th/epi/.
Fromkin, V., Rodman, R. & Hyams, N. (2003). An Introduction to Language. 7th Edition. Thomson/Heinle
Publiher. The United States.
Huddleson, R. & Pullum, K.G. (2005). A Student’s Introduction to English Grammar. The Press Syndicate
of the University of Cambridge the Pitt Building, United Kingdom.
Radin, N. N. M. & Fong, L. L. (2014). Error Analysis of Subject Verb Agreement in Argumentative Essays.
In Proceedings of the 12th Asia TEFL and 23rd MELTA International Conference, 677-689.
Srisaard, B. & Nilkaew, B. (1992). Population Reference when Estimating the Scale Tool on a Sample. Journal
of Educational Measurement Mahasarakham University, 3(1), 22-25.
Yordchim, S. (2012). Inflections in English Nouns, Verbs, and Adjectives. The Journal of the Royal Institute
of Thailand, 4, 135-144.