อัตลักษณ์มือฆ้องเพลงหน้าพาทย์ ในทศเทพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์มือฆ้องเพลงหน้าพาทย์ในทศเทพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง ดุริยพาทยาภิรมย์ ชุด ทศเทพอภิวันทนา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาบทเพลงประเภทเพลงตระสำหรับบรรเลงในพิธีไหว้ครูและบรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร ประจำองค์เทพเจ้า 10 องค์ผลการวิจัยพบว่ามือฆ้องในเพลงตระประจำองค์เทพเจ้าดังกล่าว มีอัตลักษณ์มือฆ้องที่ใช้ “ทาง” เพื่อสื่อถึงจินตภาพและทิพยภาวะ ผ่านกระบวนการทางดนตรี ภายใต้โครงสร้างการประพันธ์ประเภทเพลงตระ อัตลักษณ์ของเพลงดังกล่าวกอปรขึ้นจากเม็ดพรายในเสียงและวิธีการบรรเลงของฆ้องวงใหญ่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กิตติ วัฒนะมหาตม์. (2553). คู่มือบูชาเทพฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
ขำคม พรประสิทธิ์.(2545). อัตลักษณ์เพลงฉิ่ง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวนพิศ อิฐรัตน์. (2534). พิธีไหว้ครู : คติความเชื่อและพิธีกรรม. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2535).พิธีไหว้ครูดนตรีไทย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาดนตรีวิทยา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัชพล ศิริสวัสดิ์. (5 สิงหาคม 2565). สัมภาษณ์.
เดชน์ คงอิ่ม. (2545). เพลงหน้าพาทย์ไหว้ครู. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์เสมาธรรม.
ถาวร สิกขโกศล. (12 สิงหาคม 2565). สัมภาษณ์.
ธํานุ คงอิ่ม. (2539). วิเคราะห์หน้าทับตะโพนและกลองทัดของเพลงชุดโหมโรงเย็น.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา (แขนงวัฒนธรรมดนตรี) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
นัฐพงศ์ โสวัตร. (2538). บทบาทหน้าที่ของเพลงตระไหว้ครูในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญช่วย โสวัตร. (5 สิงหาคม 2565). สัมภาษณ์.
พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2553). มโหรีวิจักษณ์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จํากัด.
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ. (2516). เทพเจ้าและสิ่งที่น่ารู้. กรุงเทพมหานคร: ธรรมบรรณาคาร.
พ็ญพิชา สว่างวารีกุล. (2555). การศึกษาเพลงหน้าพาทย์ประจําองค์เทพฝ่ายหญิง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขามนุษยดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพฑูรย์ เฉยเจริญ. (24 กรกฎาคม 2565). สัมภาษณ์.
มนตรีตราโมท. (2533). ดุริยเทพ ศิลปวัฒนธรรมจัดพิมพ์เนื่องในวันเกิดปีที่ 90 ของครูมนตรี ตราโมท. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิฆเณศ.
มนตรี ตราโมท. (2545). ดุริยางคศาสตร์ไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). สารานุกรมดนตรีไทย ภาคีตะ-ดุริยางค์. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพริ้นติ้ง.
สัจจาภิรมย์,พระยา. (2511). เทวกำเนิด. กรุงเทพมหานคร: เสริมวิทย์บรรณาการ.
สํานักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2537). ไหว้ครูดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: นีลนาราการพิมพ์.สุรินทร์ สงค์ทอง. (24 กรกฎาคม 2565). สัมภาษณ์.
สุรินทร์ สงค์ทอง. (24 กรกฎาคม 2565). สัมภาษณ์.
Deborah, W. (2001). Sounding the Center: History and aesthetics in Thai Buddhist Performance. USA: The University of Chicago Press.
Srikongmuang, D. (2019). Character and Expressivity in the sacred naphat of Thailand. (Doctoral dissertation), University of York.