ความสัมพันธ์เชิงทฤษฎีและรูปลักษณ์ของโน้ตตัวเลขและโน้ตดนตรีสากล

Main Article Content

ศศิณัฐ พงษ์นิล

บทคัดย่อ

          งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการวิจัยเอกสาร มีจุดประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโน้ตตัวเลขและโน้ตดนตรีสากลในเชิงทฤษฎีและรูปลักษณ์ และ 2) จัดหมวดหมู่และเรียบเรียงความสัมพันธ์ระหว่างโน้ตตัวเลขและโน้ตดนตรีสากล ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ทักษะการสังเกต (Observation) และทักษะการจำแนกประเภท (Classification) โดยใช้ทฤษฎีดนตรีสากลเป็นฐานในการวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อให้ได้ผลการศึกษา


          จากการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างโน้ตตัวเลขและโน้ตดนตรีสากลในเชิงทฤษฎีและรูปลักษณ์ พบว่าในเชิงทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างโน้ตตัวเลขและโน้ตดนตรีสากลมีความสัมพันธ์กันในทุกประการ ในเชิงรูปลักษณ์แตกต่างกัน 4 ประเด็น ได้แก่ ตัวโน้ต ตัวหยุด ระดับเสียง และเครื่องหมายแสดงความดัง เบา การจัดหมวดหมู่และเรียบเรียงความสัมพันธ์ระหว่างโน้ตตัวเลขและโน้ตดนตรีสากล จัดหมวดหมู่ได้ 5 หมวดหมู่ ได้แก่ 1) ตัวโน้ต ตัวหยุดและระดับเสียง 2) คอร์ด 3) เครื่องหมายประจำกุญแจเสียง อัตราจังหวะ และอัตราความเร็ว 4) เครื่องหมายแสดงความดังและเบา และ เครื่องหมายแปลงเสียง และ 5) เส้นกั้นห้องและเครื่องหมายย้อนกลับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

ณัชชา พันธ์เจริญ. 2561. ทฤษฎีดนตรี (พิมพ์ครั้งที่ 15). สำนักพิมพ์จุฬาฯ. กรุงเทพฯ

พินดา พิสิฐบุตร. 2563.ดนตรีมิใช่เพียงเสียงในอากาศ โดยTerry E. Miller.สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564, จาก https://themomentum.co/terry-e-miller-world-music.

ศศิณัฐ พงษ์นิล. 2564. การถอดความหมายโน้ตตัวเลขสู่โน้ตดนตรีสากล และรูปลักษณ์ในดนตรีอาเซียน. การประชุมวิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ครั้งที่ 6. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก.

ศศิณัฐ พงษ์นิล. 2564. เอกสารประกอบคําสอนรายวิชาคีบอร์ดเบื้องต้น. ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก.

Brian Boone and Marc Schonbrun.2017. Music Theory 101. Simon & Schuster, Inc. New York.

Jarernchai Chonpairot.2003. The Music of Northeastern Thailand. ASEAN Composers Forum on Traditional Music. Jakarta. Indonesia

Michael Tenzer. 2006. Analytical Studies in World Music. Oxford University Press, Inc. New York.

R. Anderson Sutton.1992. “Gamelan”. World of Music. New York, NY 10019-6785