แนวทางการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

Main Article Content

สิตานันท์ ศรีชมพล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศักดินาภรณ์ นันที

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจําเป็นของการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 
2) พัฒนาแนวทางการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และ 3) ประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจําเป็น ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จํานวน 552 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จํานวน 226 คน ได้มาจากการเปิดตารางเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสู่ความเป็นเลิศ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาพหุกรณี ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จํานวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และขั้นตอน ที่ 2 การสนทนากลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เพื่อตรวจสอบร่างแนวทาง ระยะที่ 3 การประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสู่ความเป็นเลิศ โดยการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความเหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจําเป็น ด้านกลยุทธ์ เป็นลําดับที่ 1

  2. แนวทางการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย 7 ด้าน 21 องค์ประกอบย่อย

  3. ผลการประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสู่ความเป็นเลิศ โดยการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 คน มีผลการประเมิน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล. สืบค้น 25 กันยายน 2563,จาก https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=53628&
2. จิตราภรณ์ สามไชย. (2561). แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน ในจังหวัดกำแพงเพชร สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41(ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.นครสวรรค์
3. เจนการณ์ เพียงปราชญ์. (2561). การบริหารจัดการโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้วยการ เทียบสมรรถนะ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 12(2), 268-280.
4. พรทิพย์ ไพรัตน์. (2564). การพัฒนาการบริหารสถาน ศึกษาอัครสังฆมณฑลสู่ความ เป็นเลิศใน ทศวรรษ หน้า. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 165-177.
5. เพ็ญจันทร์ อุปพงษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลเอกชน สู่ความเป็นเลิศ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.สกลนคร.
6. ภัทริยากุล แก่นแก้ว. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ(ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.สุรินทร์.
7. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ศธ. สพฐ.ร่วมลงนาม MOU โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล. สืบค้น 18 กันยายน 2563, จาก https://www.obec.go.th/archives/50253
8. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
9. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2555). รายงานประเมินผลการจัดงานอนาคตการศึกษาไทย (Future of Thai Education). กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
10. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2559-2560. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย จํากัด.
11. อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด(ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.นครสวรรค์.
12. อุดม ชูลีวรรณ และชวลิต เกิดทิพย์. (2559). รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล(ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.สงขลา.
13. Gyenfie, K. D. (2009). The Ethos of Excellence in an Effective School: A Study of an Exemplary Urban School (Doctor of Philosophy'Dissertation). Educational Administration and Foundations, Illinois State University.
14. Huang, J., et al. (2019). Singapore’s School Excellence Model and student learning: evidence from PISA 2012 and TALIS 2013. Asia Pacific Journal of Education, 39(1), 96.
15. Krejcie, R.V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 608.
The World Bank. (2009). Putting Higher Education to Work: Skills and Research for Growth in East Asia. World Bank East Asia and Pacific Regional Report. Washington, DC: The World Bank.