ยุทธวิธีการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางวัฒนธรรมปลาส้มฟักของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองระเวียง ตำบลเวียงชัย อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการสินค้าทางวัฒนธรรม และศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พร้อมกับค้นหายุทธวิธีการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางวัฒนธรรมปลาส้มฟักกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองระเวียง ตำบลเวียงชัย อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เจาะลึก และสนทนากลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า ในปี พ.ศ. 2548 ร่วมกลุ่มของแม่บ้านหนองระเวียง มีสมาชิก 21 คน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงชัย จำนวน 20,000 บาทและได้รับเครื่องหมายมาตรฐาน ใน พ.ศ. 2549 ทางกลุ่มจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ใน พ.ศ. 2553 ทางกลุ่มเผชิญกับปัญหาสมาชิกลดลง แต่ก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ และในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาส้มฟักหนองระเวียง ได้รับรองรับมาตรฐาน อย. จนทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น ตลอดจนมีหลักสูตรระยะสั้นฝึกอบรมให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาส้มฟักมีศักยภาพ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ศักยภาพการบริหารจัดการกลุ่ม 2) ศักยภาพมาตรฐานการผลิต 3) ศักยภาพการตลาด ค้นพบยุทธวิธีการเพิ่มมูลค่าวัฒนธรรมปลาส้มฟัก 3 ประการ คือ 1) ยุทธวิธีการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม 2) ยุทธวิธีการเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้า 3) ยุทธวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้ง 3 ยุทธวิธีเป็นการขับเคลื่อนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาส้มฟักให้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในยุค 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาสินค้าจากฐานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมให้ได้มาตรฐานในระดับสากล
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. กรุงเทพฯ : เอกสารประกอบการบรรยาย.
กัลยาณมิตร นรรัตน์พุทธิ. (2562). วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่า. วารสารวัฒนธรรม. 57 (4) ;3-17
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ : ซัคเซส มีเดีย.
___________________. (2561). พลังวัฒนธรรม พลังการขับเคลื่อนประเทศไทย. วารสารวิจัย
วัฒนธรรม. 1 (1) ; 1-19.
ณรงค์ชัย อัครเศรณี. (2553). กระตุกต่อมคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : สำนักงานบริหารและพัฒนา
องค์ความรู้ (องค์การมหาชน).
พลชัย เพชรปลอด. (2561). เติมใจ....ใส่ธุรกิจ พลังของเรื่องเล่า. มติชนเส้นทางเศรษฐี. 24 (433 เดือน
ตุลาคม 2561) ; 22.
พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฏี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนธยา พลศรี. (2556). การพัฒนาความสามารถของบุคคลและกลุ่ม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สมเกียรติ สกุลสุรเอกพงศ์. (2559). มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์และบริการในกิจการเพื่อสังคม. วารสารการ
จัดการ (WMS Journal of Management) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 5 (3) ; 46-56.
สุจินดา เจียมศรีพงษ์ และ ปิยวัน เพชรหมี. (2560). การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
ไทย กรณีศึกษา ผ้าทอลายโบราณ. Journal of Community Development Research
(Humanities and Social Sciences. 10 (4) ; 62-85.
เสรี พงศ์พิศ. (2546). วิธีคิด วิธีทำ แผนชีวิต เศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญาไทย.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2560) คู่มือการปฏิบัติสำหรับ Primary
GMP.กรุงเทพฯ : สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.
อวัสดา ปกมนตรี และ สุดาวรรณ สมใจ. (2561). การเพิ่มมูลค่า การพัฒนาขีดความสามารถ และปัจจัยอื่น ๆ
ที่ส่งผลต่อการตลาดอย่างยั่งยืนของสินค้าพรีเมียมโอทอปจากผักตบชวา. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 7 (2) ; 68-80.
อุทิศ ทาหอม และคณะ. (2561). รูปแบบการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น “ตำเปียงทรงเครื่อง”
เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนบ้านเสม็ด ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์.
วารสารพัฒนาสังคม. 20 (2) ; 70-96.
Sungsuwan T. (2561 : 6). Creative Tourism in Koh Samed: The Answer for Sustainable
Tourism?. NIDA Case Research Journal. 2 (9) ; 1-18.