การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยว ทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

นาวิน พรมใจสา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาวัดและศาสนสถานที่สำคัญในจังหวัดเชียงรายที่เป็น
แหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงรายเพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการการท่องเที่ยว
ทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาเส้นทางการท่องท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาใน
จังหวัดเชียงรายและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัด
เชียงราย ประชากร ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย โดยใช้การวิจัยเชิง
สำ รวจและเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า วัดและศาสนสถานที่สำคัญในจังหวัดเชียงรายที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง
พระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย จำ นวน 1,282 วัด วัดตามทะเบียน จำ นวน 1,011 วัด ที่พักสงฆ์
จำ นวน 196 และสำ นักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงราย 17 แห่ง และวัดร้างจำ นวน 142 วัด รูป
แบบและกระบวนการการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงรายแบ่งออกเป็น 4กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มวัดที่เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และพระพุทธศาสนา 2) กลุ่มวัดที่มีกิจกรรมการท่อง
เที่ยวเชิงวัตถุธรรมที่เน้นความเป็นพุทธศิลป์3) กลุ่มวัดที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเน้นศรัทธาความ
เชื่อและประเพณีวัฒนธรรม และ 4)กลุ่มวัดที่เน้นการปฏิบัติธรรมและศาสนกิจ เส้นทางการท่องท่อง
เที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงรายใช้เส้นทางรถยนต์เป็นหลักในการเดินทางแยกได้4เส้น
ทาง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ชื่อเสียง
การโฆษณา แรงจูงใจและแรงกระตุ้นที่ทำ ให้อยากมาเที่ยว มีราคาถูก สถานที่สวยงาม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

ดวงสมร ฟักสังข์. (2552).การสำ รวจทุนทางสังคมและการจัดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของ
ชุมชนในเขตเทศบาลตำ บลศาลายา จังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา.
ทวีศิลป์สืบวัฒนะ. (2554). แนวคิดและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ :
อินทนิล. นิรันดร ทัพไชย (2548). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวในเอกสารการสอนชุดวิชา
กลยุทธ์การตลาดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราชนนทบุรี.
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น. (2552). คู่มือพลเมืองยุคใหม่. นนทบุรี: เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์.
อารีย์วรเวชธนกุล (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยใน
จังหวัดนครปฐม. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,สาขาการตลาด,บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ.