The Creation of Contemporary Isan Folk Dance of Roiet College of Dramatic Arts

Main Article Content

ธนานันต์ ศรีประภาพงศ์

บทคัดย่อ

          การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานร่วมสมัย เป็นแผนพัฒนาของวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 การแสดง อีสานลายมังกร เป็นการสร้างสรรค์แสดงชุดหนึ่งที่มีการผสมผสานการแสดงสองวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายสายจีนในภาคอีสาน ในด้านรูปแบบ ลีลาการฟ้อน ดนตรี การแต่งกาย และอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงได้อย่างมีหลักการ การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดกระบวนการนาฏยประดิษฐ์นาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานร่วมสมัยชุดอีสานลายมังกร ของวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดโดยวิธีศึกษาจากเอกสาร การสังเกต สัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสาน ครู อาจารย์นักแสดงจำนวน 20 คน และนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์


          ผลการวิจัยพบว่าวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดได้สร้างสรรค์การแสดงพื้นบ้านอีสานร่วมสมัยชุดอีสานลายมังกร เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นอยู่ตั้งแต่เริ่มต้นการเดินทางจากแผ่นดินแม่ของชาวจีน มาถึงแดนสยาม และลงหลักปักฐานในถิ่นอีสาน ประกอบอาชีพการค้าขาย ใช้แรงงาน จนมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเกิดความ เจริญรุ่งเรืองในชีวิตที่นำไปสู่ความสุขสบาย ร่ำรวย มั่งคงโดยมีกระบวนการประสมผสานเทคนิคการแสดงได้ มาตรฐานสากล  ด้วยเทคนิคใหม่ๆ รูปแบบการแสดงเป็นเรื่องราวผสมระบำ โดยนำลีลาท่าทางนาฏศิลป์จีนเข้ามาผสมกับลีลาท่าทางนาฏศิลป์ไทย มีการใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงเพื่อแทนสัญลักษณ์ ที่เน้นความสวยงาม การเคลื่อนไหวที่พร้อมเพรียงกัน รูปแบบการแปรแถวที่หลากหลาย ร่วมทั้งการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกแต่ยังคงความเป็นนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)