การพัฒนาความสามารถในการใช้คำกริยาที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนด้วยกระบวนการวิจัยเชิงสำรวจ

Main Article Content

puthep prapagorn

บทคัดย่อ

การศึกษาภาษาจีนกลางในระดับที่สูงขึ้นของผู้เรียนชาวไทย มักจะประสบปัญหาการใช้คำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันหรือคำศัพท์ภาษาจีนที่แปลความหมายเป็นภาษาไทยได้หลายความหมาย ส่งผลให้การสื่อสารทั้งการพูด การเขียนไม่ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นงานวิจัยจึงมุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถด้านการใช้คำกริยาที่มีความหมายใกล้เคียงกันในภาษาจีนกลางให้แก่นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนที่เรียนวิชาหลักภาษาจีน ลักษณะเป็นงานวิจัยและพัฒนาใช้แบบแผนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยนำกระบวนการวิจัยเชิงสำรวจเข้ามาเป็นขั้นตอนการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาหลักภาษาจีนในภาคการศึกษาที่ 2/2562 รวมทั้งสิ้น 31 คนได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบการใช้คำกริยาที่มีความหมายใกล้เคียงกันและแบบประเมินความรู้ ความสามารถในการใช้คำกริยาที่มีความหมายใกล้เคียงกันของผู้เรียน ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนเริ่มจากขั้นตอนการสร้างความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้น ขั้นตอนการศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคำกริยาที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนสรุป วิเคราะห์ จัดหมวดหมู่สภาพปัญหา และขั้นตอนทดสอบหลังเรียน และทำแบบประเมินความรู้ ผลการวิจัยพบว่า


ผู้เรียนมีผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมีการพัฒนาความสามารถอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 S.D. เท่ากับ 0.58) สะท้อนให้เห็นว่าผู้เรียนเข้าใจความหมาย วิธีการใช้และเงื่อนไขต่างๆ รวมถึงสามารถเลือกใช้คำกริยาที่มีความหมายใกล้เคียงกันในบริบทแวดล้อมทางภาษาที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี และสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพการนำกระบวนการวิจัยเชิงสำรวจเข้ามาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนได้แสวงหาปัญหาและแก้ไขปัญหาการใช้คำกริยาที่ผิดพลาดของตนเองได้ งานวิจัยนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าควรสร้างความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการวิจัยที่ชัดเจน และสร้างความรู้เรื่องวิธีการแยกแยะการใช้คำกริยาภาษาจีนกลางที่มีความหมายใกล้เคียงกันให้ดีเสียก่อน ฝึกปฏิบัติให้ผู้เรียนได้แยกแยะและนำไปใช้อย่างถูกต้องจึงจะสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการออกแบบงานวิจัยเชิงสำรวจของผู้เรียนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

โชติกานต์ ใจบุญ. (ม.ป.ป.). กลยุทธ์การจำและการสอนคำศัพท์ภาษาจีน, สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2563, จาก
ทิฆัมพร ออมสิน สืบพงศ์ ช้างบุญชู. (2015). เรื่องการศึกษาการใช้คำกริยาภาษาจีนที่มีความหมายใกล้เคียงกันของ
นักศึกษาไทย. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 หน้า 230-240.
Pannika Chavanatnusorn. (2019). DISCUSSION ON AN ANALYSIS ON ERRORS BY THAI STUDENTS IN CHINESE
NEAR–SYNONYMOUS VERBS AND LEARNING STRATEGIES –- BASED ON THE COMPARISON OF FOUR
THESES. Chinese Journal of Social Science and Management, 3 (1), 138-149.
Li, Z. Jiang, L. (2013). How to teach foreigners Chinese. Beijing : Beijing Language and Culture University
Press.
Lu Fupo. (2010). 汉语语法教学理论与方法. Beijing:Beijing University Press.
Zhao Jinming. (2019). 对外汉语教学概论 (修订本). Beijing:Beijing Commercial Press.