ประวัติศาสตร์ตัวนางผู้ชายในการแสดงนาฏยศิลป์ไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่อง ประวัติศาสตร์ตัวนางผู้ชายในการแสดงนาฏยศิลป์ไทย เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทยคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง “สัญวิทยาแห่งตัวละครหญิงในการแสดงนาฏศิลป์ร่วมสมัยของ นราพงษ์ จรัสศรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ของตัวนางที่แสดงโดยผู้ชายและวิเคราะห์ถึงบริบทและปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการแสดงบทตัวนางในนักแสดงชาย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และจากวิดีทัศน์บันทึกการแสดง
ผลการวิจัยพบว่าตัวนางที่แสดงโดยผู้ชายมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการใช้นักแสดงชายแสดงบทตัวนางในการแสดงนาฏยศิลป์ไทยประเภทโขน ละครชาตรี และละครนอก ซึ่งเกิดจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ 1) ความสะดวกในการฝึกหัด 2) ลักษณะของการบริหารจัดการคณะละคร 3) ค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิง 4) ข้อห้ามหรือกฎมณเทียรบาล และ 5) การตีบทแตก ซึ่งแม้ปัจจุบันจะมีการใช้นักแสดงแบบชายจริงหญิงแท้ แต่การแสดงบางประเภท เช่น ละครชาตรีของกรมศิลปากร และละครนอกที่ใช้ผู้ชายสวมบทเป็นตัวนางก็ยังคงได้รับความนิยม เนื่องจากสามารถสร้างความสนุกสนานและเพิ่มอรรถรสให้กับผู้ชมได้เป็นอย่างดี
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ชานนท์ ยอดหงส์. (2560). นายในสมัยรัชกาลที่ 6. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน
พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ, (2558). นาฏยลักษณ์ของนางโขน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิยะดา เหล่าสุนทร. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างละครไทยและละครภารตะ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แม่คำผาง
กรมศิลปากร. (2555). สังคีตศิลป์ในสาสน์สมเด็จ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2562). โขน:มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติรายแรกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม