การบริหารจัดการวงหมอลำ คณะประถมบันเทิงศิลป์

Main Article Content

สมาน แสนสุภา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการวงดนตรีหมอลำ คณะประถมบันเทิงศิลป์ ตามหลักทฤษฎีการบริหาร 7M ผู้ให้ข้อมูลที่ทำการศึกษา ได้แก่ บุคลากรที่ได้รับการคัดเลือกจากจำนวนบุคลากรทั้งหมดของวง 238 คน แบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 3 กลุ่ม  ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้ปฏิบัติการ และกลุ่มผู้สนับสนุน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง นำข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์และเขียนบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่าการบริหารจัดการวงหมอลำ คณะประถมบันเทิงศิลป์ ซึ่งประกอบด้วย 1.) ด้านบุคลากร (Man) พบว่าไม่ค่อยพบปัญหา แต่ด้านการสรรหาพนักงานติดตั้งเวทีนั้นหายาก 2.) ด้านการเงิน (Money) พบว่าค่าตอบแทนของบุคลากรและการลงทุนด้านอุปกรณ์ต่างๆ มีความเหมาะสม 3.) ด้านเครื่องมือ (Material) พบว่าบุคลากรส่วนใหญ่มีความระมัดระวังไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหาย แต่พบว่ายังมีอุปกรณ์และเครืองมือที่ชำรุดเสียกายและต้องซ่อมแซมเป็นประจำอยู่หลายชิ้น  4.) ด้านการจัดการ (Management) มีการวางแผนครั้งเดียวโดยหัวหน้าวง และมีการสั่งการมายังผู้จัดการวง ไปยังหัวหน้าฝ่ายต่างๆ  5.) ด้านการตลาด (Marketing) ใช้รถติดประกาศ มีการประชาสัมพันธ์บนเวที และเน้นการใช้สื่อออนไลน์  6.) ด้านขวัญและกำลังใจ (Morale) พบว่าบุคลากรทำงานร่วมกันอย่างสมานฉันท์และมีความเชื่อมั่นในตัวหัวหน้าวง และ7.) ด้านวิธีปฏิบัติ (Method) พบว่าวงมีขั้นตอนการทำงานเป็นรูปแบบเดียวกันไปทุกๆ วัน จึงสรุปได้ว่าวงหมอลำ คณะประถมบันเทิงศิลป์มีการบริหารจัดการวงที่มีความเหมาะสมเป็นไปตามหลัก 7M


 


          


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

เอกสารอ้างอิง
คนิตลดา ณะษรี, ฉัตรพงษ์ พีระวราสิทธิ์ และวีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2559, มกราคม). “การบริหารจัดการวงดนตรี ลูกทุ่ง หมอลำวัฒนธรรมของชาวอีสาน”. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 6(1): 101.
ปาริชาติ สุภิมารส, สุรางคนา มัณยานนท์, ธเกียรติกมล ทองงอก, ชลลดา มีทอง และนิตยา ไสยสมบัติ. 2561, พฤษภาคม). หมอลำอีสาน : กรณีศึกษาหมอลำคณะดาวรุางเด่นสยาม บ้านปลาค้าว จังหวัดอำนาจเจริญ”. การ ประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 "นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก”. 1646-1653.
พระครูจิรธรรมธัช. (2553). การประยุกต์หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการบริหารจัดการวงดนตรี หมอลําคณะเสียงอิสาน นกน้อยอุไรพร. วิทยานิพนธ์พธ.ม. (พระพุทธศาสนา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัชรินทร์ ชุติพงศ์รุ่งโรจน์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าทำงานกับสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่ 4 แห่ง. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฤดี เอี่ยมเรืองพร, เสาวภา ไพทยวัฒน์ และ Liang Fan. (2559). “รายงานการวิจัย เรื่อง การฟื้นฟูการใช้ภาษาจีนเพื่อประกอบอาชีพที่สัมพนัธ์กับวิถีชีวิตของชาวจีนใน เยาวราช กรณีศึกษาจากเครื่องกระดาษในพิธีศพและการเคารพรูปปั้นเทพเจ้าจีน”. มหาวิทยาลัยราชสวนสุนันทา.
เลิศศักดิ์ รักสุจริต. (2554). “มโหรีพื้นบ้าน : กรณีศึกษาคณะก้องฟ้า อำเภอด้านขุนทด จังหวัด นครราชสีมา”. ปริญญาศิลปกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (มานุษยดุริยางควิทยา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิสุทธิ ไพเราะ. (2555). “การบริหารจัดการดนตรีไทยร่วมสมัย กรณีศึกษาวงโจงกระเบน”. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 27(15): 16-27.
วีระ บำรุงศรี. ( 2558,มกราคม). “การบริหารจัดการวงดนตรีลูกทุ่งในประเทศไทย กรณีศึกษาวง ดนตรีลูกทุ่ง บุญศรี รัตนัง, นกน้อย อุไรพร, อาภาพร นครสวรรค์, เอกชัย ศรีวิชัย”. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 16(32): 1-12.
สันดุสิทธิ์ บริวงศ์ตระกูล. (2560). “การสื่อสารของกลุ่มแฟนคลับหมอลำเรื่องต่อกลอนผ่านสื่อ สังคมออนไลน์”. สืบค้น เมื่อ 19 ตุลาคม 2560. จาก
http://www.hu.ac.th/conference/conference2016/proceedings/contents.html
สุกิจ พลประถม. (2538). ดนตรีพื้นบ้านอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุดรธานี : ภาควิชาดนตรี สถาบันราชภัฏอุดรธานี
สุรพล วิรุฬรักษ์. (2550). พัฒนาการการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น คณะระเบียบวาทะศิลป์ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สิปปภาส บุญเรือง. (2555, มิถุนายน).” การจัดการทางการตลาดของธุรกิจเพลงรูปแบบใหม่ กรณีศึกษา: ค่ายเพลง Love is”. วารสาร JC JOURNAL, 4(3): 513-529.
ศิริชัย ทัพขวา, (2560). “การพัฒนารูปแบบการแสดงหมอลําหมู่เชิงธุรกิจ”. วิทยานิพนธ์ ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต (วัฒนธรรมศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
---------- และสมคิด สุขเอิบ. (2562, มกราคม). “การพัฒนารูปแบบการแสดงหมอลำหมู่เชิงธุรกิจ
วารสารกระแสวัฒนธรรม. 37(20): 25-36.
อลงกต จินารักษ์. (2558). “10 อันดับคณะหมอลำยอดเยี่ยมแห่งปี 2558”. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2562, จาก
http://champalongkot.appspot.com/work1.html
Geetze, Clifford. (1968). Religion as a Cultural System. In Anthopological Approaches to the study of Religion. Michael Banton, Ed. London: Tavistock Publications, Second Impression.
Turner, Victor W. The Forest of Symbols:Aspects of Ndembu Ritual, Unit State of America: Cornell University.