ทบทวนมุมมองการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาในยุคสังคมพลิกผัน

Main Article Content

นิฟิรดาวส์ นิและ

บทคัดย่อ

เรากำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญทางด้านการศึกษาที่ถูกผลักดันด้วย "Technological Disruption" ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของเด็กรุ่นใหม่ มีการตัดสินใจ มีทางเลือกด้านการศึกษา จากระยะเวลาที่สั้นกว่าลงทุนน้อยกว่าและการมีงานทำที่ง่ายขึ้น ตลาดแรงงานและความต้องการด้านทักษะและความสามารถนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ระบบการศึกษาต้องพัฒนาจากการสอนให้จด (lecture) เป็นการเรียนรู้ด้วยสื่อ (learning media) การบ้าน (homework) ต้องพัฒนาไปเป็นการคิดล่วงหน้า (pre-work) หลักสูตร (Course) ต้องพัฒนาไปเป็นแนวทางเดิน (pathway) การสอบ (exams) ต้องพัฒนาไปเป็นการรายงานความก้าวหน้า (progression report) ครูต้องปรับตัวเองเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน (facilitators) โรงเรียนต้องพัฒนาไปเป็นสถานที่เรียนรู้ (learning environment) คนทำงานหรือแรงงานต้องพัฒนาไปเป็นผู้ประกอบการ (trade entrepreneurs) และจากลูกจ้างต้องพัฒนาไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีความสามารถรอบด้าน (Krating Poonpol, 2018) ความต้องการพัฒนาทักษะให้เพิ่มสูงขึ้นหรือปรับเปลี่ยนทักษะของคนในองค์กรเปลี่ยนไปในทิศทางใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม เศรษฐกิจใหม่ในยุคดิจิทัล ส่งผลให้อำนาจการตัดสินใจและดำเนินการด้วยตนเองได้กลายเป็นแนวคิดใหม่ของวัฒนธรรมการทำงาน การตัดสินใจเลือกเรียนสายอาชีพ จึงเป็นทางออกหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในยุคพลิกผัน (disruptive) ที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไปตามกระแสสังคมที่มุ่งสู่ความเป็นจริงและการอยู่รอดมากกว่าการยึดถือภาพลักษณ์ของตนเอง แต่หากนึกถึงความอยู่ดี มีสุข และสะดวกต่อการถึงเส้นชัยมากกว่า โจทย์ของสถาบันการอาชีวศึกษาคือ องค์ประกอบโครงสร้างขององค์กร การจัดหลักสูตรและการวัดประเมินผลต้องเปลี่ยนไปอย่างไรให้อยู่รอดในสังคมยุคพลิกผัน (disruptive)  เด็กอยู่ในสังคมนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้พร้อม ให้ถึงเวลา แต่เป็นการนำตัวเองเข้าสู่โอกาสโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น หน้าที่ของสถาบันการศึกษาต้องทำอย่างไรเพื่อให้เกิดขึ้นโดยตรงกับผู้เรียน สามารถให้ผู้เรียนดึงความรู้ที่ได้จากสถาบันไปใช้ประกอบอาชีพ ดูแลตนเองและครอบครัวในชีวิตได้


 


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Paper)

References

ดุษฎี ดำมี. (2557). การศึกษาตลอดชีวิต : พัฒนาสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้. สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน
มหาวิทยาลัยมหิดล.
นภา หลิ่มรัตน์. (2551). การวัดผลและการประเมินผล. แหล่งข้อมูลด้านแพทยศาสตรศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้น 10 ธันวาคม 2562, จาก
http://teachingresources.psu.ac.th/document/2551/limrat/1.pdf
พัชราวลัย วงศ์บุญสินธุ์. (2550). การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานอาเซียน. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ภาณัททกา วงษากิตติกุล,รัฐพล ประดับเวทย์, ชมพูนุช สุขหวาน และไพรัช วงศ์ยุทธไกร. (2560). การพัฒนา
รูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาแบบความร่วมมือ เพื่อยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากล .
วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,11(2),130.
ภาสกร เรืองรอง, รุจโรจน์ แก้วอุไรวินัยและคณะ. (2557). "Blended Learning กับการพัมนาคุณภาพการศึกษา
ไทยในศตวรรษที่ 21" สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2562, จาก
http://nueducation2556.blogspot.com/2014/02/blended-learning-21.html
ภูวเรศ อับดุลสตาและวรรณดี สุทธินรากร, (มปป). แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อการขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษาระบบ
ทวิภาคี. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุล. (2562). เปลี่ยนแปลงได้ก่อนมีโอกาสมากกว่า. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เรวดี นามทองดี. (2558). การอาชีวศึกษากับการพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยในการเป็นประชาคมอาเซียน. วารสาร Veridian
มหาวิทยาลัยศิลปกร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ,8(2),1.
วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning (พิมพ์ครั้งที 1). กรุงเทพฯ : เอส
อาร์ พริ้นติ้ง.
ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร Veridian มหาวิทยาลัยศิลปกร สาขา
มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ,10(2),1.
สุภาพร เพียรดี. (2554). แนวคิดในการปฎิรูปการศึกษา. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2562, จาก
https://www.gotoknow.org/posts/451725
สุรินทร์ คำฝอย. (2562). สรุปการนำเสนอ การดำเนินการด้านการผลิตกำลังคน. ใน การประชุมเชิงปฏิบัติการ
การผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2555). แนวคิดการประเมินพนักงาน. กรุงเทพฯ: ไทยสกิลล์ พลัส จำกัด.
อริญญา เถลิงศรี. (2561). Disruption: ทําลายล้างหรือ สร้างโอกาส?. สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2562,
จาก https://thaipublica.org/2018/06/seac-disruption/
อรนุช เลิศสุวรรณกิจ, ฐานิตา ภูวนาถนรานุบาลและกรรณิการ์ เฉิน. (2561). มหกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
ครู ครั้งที่ 11 ภายใต้แนวคิด “Value of Teachers : คุณค่าของครู”. สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2562,
จาก https://techsauce.co/tech-and-biz/teachers-the-future-in-education-disruption/
Audrey Smith และ Stephanie Neal. (2561). ในยุคปัจจุบัน Disruption คือมิตรแท้ของ CEO Why
Disruption is the CEO’s Best Friend. วารสาร IOD Boardroom, 59(4), 64-66.
BECTERO TV. (2562). สพฐ.เดินหน้าขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล “EDU Digital 2019”. สืบค้น
4 พฤศจิกายน 2562, จาก http://tv.bectero.com/special/214683/
Cooper, L., Orrell, J. and Bowden, M.(2010). Work Integrated Learning: A guide to Effective
Practice. n.p.
Krating Poonpol. (2561). บทสรุป Future of Education (part1). สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2562,จาก
https://www.disruptignite.com/blog/future-of-education-part1
Lady P. (2560). 5 ขั้นตอนเปลี่ยน Mindset ชีวิตเปลี่ยน. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2562,จาก
http://www.unlockmen.com/5-steps-changing-mindset/.
Natthanun Chantanurak. (2561). Education Disruption Conference 2018. สืบค้น 11 พฤศจิกายน
2562, จาก https://medium.com/@natthanunchantanurak/education-disruption-review- fa9910ad7d77
Passiongen. (2561). เตรียม Mindset อย่างไร ให้ทัน ยุค Disruption. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2562,
จาก https://www.passiongen.com/2018/11/get-readymindset-for-disruption-era/