การพัฒนาทักษะ Soft Skills ด้านบุคลิกภาพและศิลปะการพูด ของนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจการพัฒนาทักษะ Soft Skills ด้านบุคลิกภาพและศิลปะการพูดของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะ Soft Skills ด้านบุคลิกภาพและศิลปะการพูดของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ 3. เพื่อศึกษาผลการสะท้อนตนเองของนักศึกษาด้านด้านบุคลิกภาพและศิลปะการพูด เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ระยะเวลาที่ทำวิจัย คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาครูคณิตศาสตร์ จำนวน 130 คน ที่กำลังเรียนในปีการศึกษา 2561 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการพัฒนาทักษะ Soft Skills ด้านบุคลิกภาพและศิลปะการพูด 2. แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ 3. แบบสะท้อนตนเองของนักศึกษาด้านด้านบุคลิกภาพและศิลปะการพูด สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- นักศึกษาครูคณิตศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาทักษะ Soft Skills ด้านบุคลิกภาพและศิลปะการพูดคิดเป็นร้อยละ 87.97 มีความรู้ความเข้าใจในระดับดีเยี่ยม
- ความพึงพอใจในการจัดโครงการการพัฒนาทักษะ Soft Skills ด้านบุคลิกภาพและศิลปะการพูดของนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 มีความพึงพอใจในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 0.62 โดยผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจด้านวิทยากรมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการนำความรู้ไปใช้ ด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร ด้านความรู้ความเข้าใจ และด้านการดำเนินงานตามลำดับ
- ผลการสะท้อนตนเองของนักศึกษาด้านบุคลิกภาพและศิลปะการพูด พบว่า นักศึกษาสามารถบอกบุคลิกภาพที่ดีของตนเอง บุคลิกภาพที่ต้องปรับปรุงของตนเองได้ และความรู้สึกที่มีต่อการเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นไปในเชิงบวก
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ชโลทร โชติกีรติเวช, วัลลภา อารีรัตน์. (2560). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะ Soft Skills เพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารวิจัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(1): 44-52.
ชุฏิภัคศ์ เขมวิมุตติวงศ์. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ : การพัฒนานักศึกษาออกแบบแผนกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยการเรียนรู้เชิงรุก. พิฆเนศวร์สาร. 13(2): 109-127.
ธนทร โกวิโท (โยธาจันทร์). (2559). คุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ตามทัศนะของนักเรียน โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ตำบลเวียงสะอาด อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสาร ว.มรม. (มนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์). 10(3): 243-248.
ประกาศิต รักษ์ศิริ และภาคภูมิ รัตนโรจนากุล. (2560). ความคาดหวัง สภาพ และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนรายวิชา พ 32102 พลศึกษา (กระบี่) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียน
บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 9(1): 93-111.
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตร 4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง 2562. ร้อยเอ็ด.
รุจโรจน์ แก้วอุไร และคณะ. (2559). ผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตามแนว 4 C’s เพื่อพัฒนาสมรรถนะการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของครูคณิตศาสตร์สังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์.
11(31): 1-16.
วัชราวดี อาจทรัพย์ และเบญจวรรณ กี่สุขพันธ์. 2559. การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนเลิศพัฒนาศึกษา เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
12(2): 39-49.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
วรรณี อึ้งสิทธิพูนพร. (2558). ความพึงพอใจในการฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของครูภาษาอังกฤษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี. Veridian E-Journal,
Silpakorn University. 8(3): 1023-1036.
สาขาวิชาคณิตศาสตร์. (2562). รายงานโครงการการพัฒนาบุคลิกภาพและศิลปะการพูดสำหรับนักศึกษาครูคณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
สุธีรา อัมพาผล และปฏิพัทธ์ จันทร์รุ่งเรือง. (2559). ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อการให้บริการหลักสูตรข้าราชการที่ดี: กรณีศึกษา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการและวิจัย
มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1(1): 1-11.
สุพรรณิการ์ ชนะนิล. (2560). ความคาดหวังของผู้ปกครองของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ต่อหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการแพรวา
กาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 4(2); 299-315.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Brooks-Harris, J.E. & Stock-Ward,S.R.. (1999). Workshop: Designing and facilitating experiential learning. California. SAGE Publications.
Melser, N.A. (2019). Teaching soft skills in a hard world : Skills for beginning teachers. Maryland: The Rowaman & Littlefield Publishing Group.
Stephenson,J., Galloway,A.. (2012). The Secrets to Workshop Success. Jane Stephenson, Anne Galloway & Ventus Publishing.