การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และระบบพี่เลี้ยงเพื่อเตรียมความพร้อม นักศึกษาวิชาชีพครูสาขาภาษาอังกฤษสู่ชุมชน

Main Article Content

วรางคณา ภู่ศิริภิญโญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิด
จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research-based
Learning) และระบบพี่เลี้ยง (Coaching) หรือ CCR และ 2) เพื่อพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครู สาขา
วิชาภาษาอังกฤษให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 4 จำนวน 56 คน
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1
การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิด CCR ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการ
จัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นในรูปแบบรายละเอียดรายวิชา (มคอ.3) และระยะที่ 3 ระยะการวิเคราะห์
ข้อมูลและสรุปผลข้อมูลจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ CCR การวิจัยนี้มีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ
โดยใช้ 1) แบบประเมินรายละเอียดของรายวิชา มคอ.3 2) แบบสะท้อนความคิดเห็นของนักศึกษา
ต่อการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ 3) แบบสะท้อนพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา วิเคราะห์
ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้ 1) บันทึกการเรียนรู้ของ
นักศึกษา และ 2) บันทึกการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์
ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับหลักการ CCR โดยมีค่าเฉลี่ย
ของแบบประเมินรายละเอียดของรายวิชา มคอ.3 ในรายวิชาการสอนวรรณคดีสำหรับเด็กคิดเป็น
ร้อยละ 100 และในรายวิชาสัมมนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ คิดเป็นร้อยละ 99 และมีค่า
ร้อยละที่นักศึกษาสะท้อนคิดต่อการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์ว่ามีลักษณะการจัดการเรียนรู้
สอดคล้องกับแนวคิด CCR คิดเป็นร้อยละ 100 ในทุกด้าน 2) นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาภาษา
อังกฤษชั้นปีที่ 4 แสดงออกถึงคุณลักษณะบัณฑิตวิชาชีพครูที่พึงประสงค์และสามารถนำ�หลักการ
CCR ไปประยุกต์ในการสอนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

ชลลดา ทองทวี และคณะ. (2551). บทความการประชุมวิชาการประจำปี 2551 เรื่องจิตตปัญญา
ศึกษา การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร. (2555). ผลของจิตตปัญญาศึกษาต่อการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
ของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรม
ราชชนนี, กรุงเทพ 28(2), 35-51.
ธีราภรณ์ พลายเล็ก. “ปัจจัยที่มีผลต่อการพูด ภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้น ปีที่ 2 สาขาวิชา
ภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร”.
วารสารวิจัยและพัฒนา ปี ที่ 3/2554 คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ลัดดา ภู่เกียรติ. 2552. การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน: งานที่ครูประถม
ทำได้. กรุงเทพฯ : สาฮะแอนด์ซัน พริ้นติ้ง.
ปทีป เมธาวุฒิ. (2547). การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. (พิมพ์ครั้งทื่ 3). กรุงทพฯ:
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2554). ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล