ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการให้ความ คุ้มครองลิขสิทธิ์ในเสียงขับร้อง และเสียงขับร้องที่ถูกดัดแปลงในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์
ในเสียงขับร้อง และเสียงขับร้องที่ถูกดัดแปลงโดยเครื่องมือดิจิทัล เนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์
ในปัจจุบันไม่ได้ให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ส่วนที่เป็นเสียงขับร้องของนักร้อง รวมถึงเสียงขับร้องที่ถูก
ดัดแปลงโดยเครื่องมือดิจิทัล ซึ่งเสียงทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเกิดจากการใช้ความรู้ ความสามารถ
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความวิริยะอุตสาหะซึ่งเป็นคุณสมบัติที่น่าจะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์
ได้ ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาโดยค้นคว้าจากตำรา บทความวิชาการ เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ของการ
ให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลผู้ใช้เสียงขับร้องในการประกอบ
อาชีพ และ ผู้ดัดแปลงเสียงขับร้องโดยใช้เครื่องมือดิจิทัล เพื่อให้ทราบถึงวิธีการปฏิบัติงานจริงของ
ผู้สร้างสรรค์ผลงาน เพื่อเป็นข้อมูลเสริมเพื่อประกอบการวิเคราะห์งานวิจัย อย่างไรก็ตาม แม้ผลการศึกษา
พบว่าเสียงขับร้องตามปกติของนักร้องไม่อาจได้รับความคุ้มครองในฐานะงานอันมีลิขสิทธิ์ได้
แต่นักร้องยังคงสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากเสียงของตนได้ ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอแนะให้แสวงหา
ประโยชน์ดังกล่าวนั้นโดยอาศัยความคุ้มครองจากกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น
ในขณะเดียวกันผลการศึกษากรณีเสียงขับร้องที่ถูกดัดแปลงโดยเครื่องมือดิจิทัลพบว่าเสียงดังกล่าว
มีคุณสมบัติอันอาจได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ได้ อีกทั้งยังสามารถแสวงหาผลประโยชน์โดยอาศัย
ความคุ้มครองจากกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่นได้อีกด้วย
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรุงเทพฯ : (ม.ป.พ.)
จักรกฤษณ์ ควรพจน์. (2555). กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และ
เครื่องหมายการค้า. กรุงเทพฯ : นิติธรรม.
ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2560). ลักษณะของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. (พิมพ์ครั้งที่ 11).
กรุงเทพฯ : นิติธรรม.
ชัชวาล เสวี และเอกรัตน์ สารสุข. ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงโทรทัศน์. (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก www.library.coj.go.th [2560, 11 เมษายน]
ธัชชัย ศุภผลศิริ. (2539). คำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์. กรุงเทพฯ : นิติธรรม.
_______. (2547). ทรัพย์สินทางปัญญาในยุคโลกาภิวัฒน์. เล่ม 2. กรุงเทพฯ : จิรรัชการพิมพ์.
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา. (2521). พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์
ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2526. กรุงเทพฯ : (ม.ป.พ.)
วัส ติงสมิตร. (2546). ลิขสิทธิ์ ตัวบทพร้อมข้อสังเกตเรียงมาตราและคำพิพากษาศาลฎีกา.
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : นิติธรรม.
วิศิษฐ์ ศรีพิบูลย์. (2548). รวมคำอธิบายพร้อมตัวบทกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ : ทิพยดา.
อรพรรณ พนัสพัฒนา. (2558). คำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
J.A.L. Sterling. (2008). World Copyright Law. (3 ed.). London : Sweet and Maxwell.
The Copyright Act 1976.