การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนียน ในกลุ่มจังหวัดลำดับที่ 12 ของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิต
ยูเนียนในกลุ่มจังหวัดลำดับที่ 12 ของไทย จำนวน 64 แห่ง โดยใช้ตัวแบบ Data Envelopment
Analysis: DEA ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์
เครดิตยูเนียนในกลุ่มจังหวัดลำดับที่ 12 ของไทย กรณีผลได้ต่อขนาดคงที่ (CRS) สหกรณ์เครดิตยูเนียน
ทั้งสามขนาดคือ สหกรณ์เครดิตยูเนียนขนาดใหญ่มาก ขนาดใหญ่ และขนาดกลาง มีระดับประสิทธิภาพ
มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 30.43 ร้อยละ 36.36 และร้อยละ 50 ตามลำดับ โดยมีค่าประสิทธิภาพ
โดยเฉลี่ย CRS อยู่ในระดับมาก คือ 0.5079 ส่วนกรณีผลได้ต่อขนาดสามารถเปลี่ยนแปลงได้
(VRS) สหกรณ์เครดิตยูเนียนทั้งสามขนาดคือ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขนาดใหญ่มาก ขนาดใหญ่ และ
ขนาดกลาง มีระดับประสิทธิภาพมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 43.48 ร้อยละ 39.39 และร้อยละ 75
ตามลำดับ โดยมีค่าประสิทธิภาพโดยเฉลี่ย VRS อยู่ในระดับมาก คือ 0.7511 เมื่อพิจารณาผล
ตอบแทนต่อขนาดการดำเนินงานภายใต้ข้อสมมุติ VRS พบว่าผลตอบแทนต่อขนาดของสหกรณ์
เครดิตยูเนียนส่วนใหญ่เป็นผลตอบแทนต่อขนาดของการดำเนินงานที่ลดลง (Decreasing Return to
Scale : DRS) รวมทุกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยมีจำนวนถึง 48 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75
แสดงให้เห็นว่าปัจจัยการผลิต (Input) ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เมื่อนำเข้ามาในสัดส่วนหนึ่งแล้ว
ก่อให้เกิดผลผลิต (Output) ออกมาในสัดส่วนที่น้อยกว่าหรืออาจกล่าวได้ว่าผลได้ต่อขนาดลดลง
นั่นเอง สหกรณ์เครดิตยูเนียน จึงควรลดการใช้ปัจจัยการผลิตอันได้แก่ สินทรัพย์รวม ทุนเรือนหุ้นรวม
ทุนดำเนินงาน และเงินรับฝากจากสมาชิกลง
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
การเงินชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก. มหาวิทยาลัยราชภัฎ
สวนสุนันทา.
กฤษฎ์ เพ็ชรประดับ. (2553). การวัดประสิทธิภาพต้นทุนของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในภาคใต้
ของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย. 2557. สถิติสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มาhttp://www.cultthai.coop/cultthai/index.php/2017-10-04-08-05-47
สมคิด แก้วทิพย์. (2555). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของสหกรณ์
การเกษตรในภาคเหนือ. เชียงใหม่ : มหาวิทมยาลัยแม่โจ้
สมโภชน์ วัลยะเสวี. (2549). คู่มือการเงินการธนาคารสำหรับนักการธนาคารไทย. กรุงเทพฯ:
สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย.
สุรชัย กังวล. (2552). การบริหารจัดการที่เหมาะสมของสถาบันการเงินชุมชน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอก.
มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). “รายงานการวิเคราะห์
สถานการณ์ ความยากจนและความเหลื่อมลํ้าในประเทศไทย ปี 2555”. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา http://social.nesdb.go.th/social/Portals/0/Poverty%20Report%20
2555.pdf (20 ธันวาคม 2557) .
สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม. (2554). “สถิติเผยแพร่”. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา http://social.nesdb.go.th/social/Default.aspx?tabid=131 (15 ธันวาคม 2557)
อารีย์ เชื้อเมืองพานและคณะ. 2555. ประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มออมทรัพย์ในเขตภาคเหนือ
ตอนบน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Cheamuangphan, A et al. (2012). Factors enhancing efficiency of Microfinance
in agricultural communities of Upper Northern Thailand. The Empirical
Econometrics and Quantitative Economics Letters, 1(4), 1-20.
Farrel,M.J. 1957. The measurement of Productive Efficiency. Journal of the Royal
Statistical Society, A(120), 253-290.
Hassan, M.K. and Sanchez. (2009). Efficiency analysis of Microfinance Institution
in developing Countries. Network Financial Institute. WP-12.
Haq, M,.Skully, M,.Pathan, S. (2009). Efficiency of Microfinance Institution: A Data
Envelopment Analysis. Asia-Pacific Financial Markets, 1-39
Muhammad Yunus. (2555). สร้างโลกไร้จน. แปลจาก Creating a World Without Poverty
โดย สฤณี อาชวานันทกุล. กรุงเทพฯ: มติชน.
Tahir, I.M. and Tahrim, S, N.C. (2013). Efficiency analysis of Microfinance Institution
in ASEAN : A DEA approach. Business Management Dynamics, 3(4), 13-23.
Triki, M, W. (2013). The efficiency scores of Microfinance Institution in Africa and
MENA region. Researchjournali’s Journal of Finance, 1(1), 1-17.