แนวทางการจัดการการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม โดยตั้งคำถามจากสถานการณ์สมมติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
“คุณธรรม” เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่น้อมนำจิตใจคนของสังคม ให้ประพฤติตน
ในสิ่งที่พึงทำและละเว้นในสิ่งที่พึงละเว้น รวมทั้งการร่วมกันกำหนดข้อกำหนดความประพฤติทุกคน
ในสังคม เพื่อความสันติสุขสถาพร เรียกว่า“จริยธรรม” โดยทั่วไป การสอนและการปฏิบัติตาม
หลักคุณธรรมและจริยธรรมอาจยังเป็นเรื่องยากและไม่น่าสนใจ วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ
เพื่ออธิบายความหมายต่างๆ และ สร้างแนวทางการจัดการ การเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
ที่เป็นระบบโดยการตั้งคำถามแบบสถานการณ์สมมุติ กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติโดยการทบทวน
วรรณกรรม ประสบการณ์ของผู้วิจัย และ สนทนากลุ่มย่อย เพื่อค้นคว้าและเรียบเรียงเนื้อหาสาระ
และกระบวนการจัดการ การส่งเสริมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม แนวทางตามผลงานการ
วิจัยที่ได้นี้ประกอบด้วย ชุดคำบรรยาย ความหมาย หลักการ หลักวิชา หรือทฤษฎี ที่เป็นสากลด้าน
คุณธรรมและจริยธรรมที่เข้าใจง่ายและนำเสนออย่างเป็นระบบ โดยผลงานวิจัยนี้ได้ถูกนำไปใช้
ประกอบโครงการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในหลากหลายองค์กร ส่งผลให้ผู้เข้ารับฟังและร่วม
ฝึกปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งเด็กนักเรียน นักศึกษา และ ผู้ใหญ่ ได้รับความรู้ตามเนื้อหาสาระ ยังมีโอกาส
สร้างตัวอย่างสถานการณ์สมมติที่ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และสามารถเป็นผู้เผยแพร่หลักการคิด
ผ่านกระบวนการสร้างสถานการณ์สมมติได้
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จินตนา บุญบงการ. (2558). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ฐิติขวัญ เหลี่ยมศิริวัฒนา. (2557). อัจฉริยะ 100 หน้า พระธรรมคำสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
อมรินทร์.
เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย.(2556). การนันทนาการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ศรุต นาควัชระ และ คณะ. (2561). คู่มือแนวทางการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา
สังกัดองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น หลักการพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม. กรุงเทพฯ:
กลุ่มงานส่งเสริมการจัดการศึกษาท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย (พิมพ์ประกอบการอบรมฯ)
สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2551). เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ไอคอน พรินติ้ง
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2542). สังคมวิทยาปัญหาสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2558). แนวทางธรรมาภิบาลของ
ก.ล.ต. (Code of Governance). สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2561 จาก
https://www.sec.or.th/TH/AboutUs/Documents/CGSEC_office.pdf
อำนาจ ยอดทอง. (2557). บทวิเคราะห์ว่าด้วยธรรมาภิบาลในพระพุทธศาสนา. เอกสารการประชุม
วิชาการระดับชาติ มจร ครั้งที่ 1 เล่ม 2 (Book of Abstracts and M CU Congress
Proceedings). ประจำปี 2557 เรื่องพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคม
ณ หอประชุม มวก. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วันที่ 23-24 กรกฎาคม
พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
_______. (2018). Exam case-study / scenario question. The Online Writing and
Learning Link (OWLL). Massey University. Retrieving 9/6/2018 from
http://owll.massey.ac.nz/tests-and-exams/exam-case-study-scenarioquestion.
php