ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและการฝ่าฟันอุปสรรค (AQ) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหา
และการฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ
บุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 185
คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการวิจัย
คือ แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวม 70 ข้อ มีค่าอำนาจ
จำแนกตั้งแต่ 0.41-0.72 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ อยู่ระหว่าง 0.84 - 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย
สรุป ได้ว่า
1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญ
ปัญหาและการฝ่าฟันอุปสรรคอยู่ในระดับมาก และ ปัจจัยภายใน ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ลักษณะ
มุ่งอนาคต ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและการฝ่าฟันอุปสรรคอยู่ในระดับมากที่สุด
2) ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถในการเผชิญ
ปัญหาและการฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฎบุรีรัมย์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ที่มีบุคลิกภาพและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูต่างกัน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา).
มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จตุพร เพ็งชัย. (2533). สาระเกี่ยวกับบุคลิกภาพ. มหาสารคาม : ภาควิชาจิตวิทยาและแนะแนว
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิต การพิมพ์.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2529). พฤติกรรมศาสตร์ เล่มที่ จิตวิทยาจริยธรรมและจิตวิทยาภาษา.
กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์. (2548). AQ อึดเกินพิกัด = Adversity quotient : turning obstacles into
opportunities / Paul G. Stoltz. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : บิสคิต.
นันทนา จันทร์ฝั้น. (2545). การศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับความคาดหวังในอนาคตของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานประถมศึกษา
จังหวัดเชียงราย ด้วยการวิเคราะห์พหุระดับ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและสถิติ
ทางการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิกร ขวัญเมือง. (2545). การศึกษาความสมพันธ์ระหว่างเมตาคอกนชินและการอบรมเลี้ยงดูกับ
ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวดผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒิ.
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). การวัดและประเมินผลการศึกษา:ทฤษฎีและการประยุกต์.
(พิมพิ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
พิทักษ์ วงแหวน. (2546). การศึกษาปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อพฤติกรรมไฝ่เรียนของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย
และสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เมธยา คูณไทยสงค์. (2546). จิตลักษณะบางประการที่สัมพันธ์กับความสามารถในการเผชิญและ
ฟันฝ่าอุปสรรคต่างกัน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). มหาสารคาม:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). สถิติวิทยาทางการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น,
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ สู่ความเป็นพลเมืองดี. กรุงเทพฯ:
อาร์ แอนด์ ปริ๊นต์.
วิทยา นาควัชระ. (2544). วิธีเลี้ยงลูกให้เก่ง ดี มีสุข IQ EQ MQ AQ. กรุงเทพฯ: กู๊ดบุ๊ค.
ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. (2545). เทคนิคการสร้าง IQ EQ AQ 3Q เพื่อความสำเร็จ. กรุงเทพฯ:
สถาบันสร้างสรรค์ศักยภาพสมอง ครีเอตีฟ เบรน.
Allen, Mary J.; & Yen, Wendy M. (1979). Introduction to Measurement Theory. California :
Brooks/Cole Publishing.
Cronbach, Lee J. (1970). Essential of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper
& Row.
McCelland, David C. and Others. (1953). The Achievement Motive. New York: Spplenton
Century Croffs, Inc.
Pender, N.J. & Pender, A.R. (1987). Heath promotion nursing practice. (2nd ed.).
Norwalk: Appleton&lange.
Stoltz,Paul,G. (2001). Adversity Quotient @work. 1st. New York. Harper Business.