การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Main Article Content

เอกชัย ธีรภัคสิริ
พนาสินธุ์ ศรีวิเศษิ
จิรานุวัฒน์ ขันธจันทร
ณัฐวัฒน์ โฆษิตดิษยนันท
ไชยวัฒน์ ไชยชาติกิตติยศิ
อรอุมา เวชกริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อการประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี
ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ด้านบริบทของหลักสูตร ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร
ด้านนักศึกษา และด้านการสนับสนุนการเรียนการสอน และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและการปรับปรุง
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบบสอบถามส่วนที่ 1 มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean:) และ
ส่วนที่ 2 ข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา สรุปแล้วนำาเสนอด้วยการเรียบ
เรียงเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในศึกษาครั้งนี้ ทั้งหมดของประชากร
จำานวน 149 คน ประกอบด้วย อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 6 คน อาจารย์ประจำา 22 คน นักศึกษาสาขา
วิชาดนตรีศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 จำานวน 120 คน บัณฑิต 57 คน
ผลการศึกษาพบว่า
ด้านบริบทของหลักสูตร ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับบริบทของของ
สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรมีการ
ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพอาจารย์การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ด้านนักศึกษาหลักสูตรมีระบบและกระบวนการ
ที่ดีในการรับนักศึกเข้าศึกษาต่อและมีโครงการเพื่อพัฒนานักศึกษาทั้งเข้าใหม่และปัจจุบัน ด้านสนับสนุนการ
เรียนการสอน สื่อและอุปกรณ์ มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ด้านแนวทางการพัฒนาและการปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ควรมีการสำารวจความพึงพอใจและความต้องการของการเข้า
ศึกษากับสาขาวิชาดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำาให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงตาม
ความต้องการของสังคม และการรวมถึงความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตว่ามีความต้องการบัณฑิตที่มีลักษณะ
ที่พึงประสงค์ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

สำานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับ
อุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรงเทพฯ : สำานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำาคัญ. กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2554). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำาคัญ. กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2538). พฤติกรรมการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. (พิมพ์ ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาขาวิชาดนตรีศึกษา(2559). มคอ. 7 : รายงานผลการดำาเนินงานของหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต
ประจำาปีการศึกษา 2558. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สาขาวิชาดนตรีศึกษา(2558). มคอ. 7 : รายงานผลการดำาเนินงานของหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต
ประจำาปีการศึกษา 2557. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2542). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Yong Siew Toh Conservatory of Music. (2012). Guide for Prospective Students.
Singapore : National University of Singapore.
_______. (2013). Student Handbook. Singapore : National University of Singapore.