รูปแบบการพัฒนาผู้นำาเกษตรกรสุนทรียกสิกรรมเพื่อเสริมสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง

Main Article Content

สรรเพชร เพียรจัด
อวยชัย วะทา
ประภัสสร ปรีเอี่ยม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาผู้นำาเกษตรกรสุนทรีย
กสิกรรมเพื่อเสริมสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาผู้นำาเกษตรกรสุนทรียกสิกรรมเพื่อ
เสริมสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง 3) ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบ วิธีดำาเนินการวิจัยแบ่งตามวัตถุประสงค์
เป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์ จำานวน
400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน พบปัจจัย 5 ด้าน คือด้านสุนทรียสนทนา ด้านกสิกรรมอินทรีย์ ด้านภาวะผู้นำา
เกษตรกร ด้านสุนทรียกสิกรรม และด้านชุมชนเข้มแข็ง โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ใน
ระดับมาก ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประเมินความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง
ของรูปแบบและหลักสูตรรวมถึงสัมมนารับรองรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ผลการพิจารณาพบค่า
ความเหมาะสมโดยรวมและรายข้อทุกข้ออยู่ในระดับมาก ได้รูปแบบ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เปิดรับอาสา
สมัคร 2) ค้นหาปัญหาความต้องการ 3) ฝึกอบรม 4) เรียนรู้สุนทรียกสิกรรม 4 ขั้นตอน คือ ร่วมค้นพบ
สิ่งดีจากการทำากสิกรรม ร่วมสร้างสรรค์ทำากสิกรรมอย่างมีคุณค่า ร่วมออกแบบการทำากสิกรรมอย่าง
สุนทรียะ และ ร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีเพื่อชุมชน 5) ถอดบทเรียนประเมินผล ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยเชิง
ปริมาณ เชิงคุณภาพและเชิงทดลอง กลุ่มทดลอง ได้แก่ อาสาสมัครเกษตรกรในตำาบลกลันทา อำาเภอ
เมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำานวน 30 คน วิเคราะห์เปรียบเทียบผลด้วยสถิติทดสอบที ผลการทดลองพบว่า
ผู้นำาเกษตรกร มีความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมทุกรายด้านเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัย
สำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำานักงาน. (2557). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
จารินี ม้าแก้ว และคณะ. (2553). การถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องสกัดสารป้องกันและกำาจัดศัตรูพืช
โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ตำาบลกลันทา อำาเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. สำานักงานกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
จุฬาภรณ์ ถาวร. (2550). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำาเกษตรกรรมยั่งยืนของแกน
นาเกษตรกร ำ จังหวัดสุพรรณบุรี. ปริญญานิพนธ วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร ์ ประยุกต์ ์ ). ์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : กรุงเทพฯ.
ช่อเพชร เบ้าเงิน. (2545). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอากรมณ์ ด้าน
การตระหนักรู้ตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำานักงาน การประถมศึกษา
จังหวัดสมุทรสาคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2543). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง: ประชาคม ประชาสังคม.
พิมพ์ครั้งที่ 6. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำานักพิมพ์ชมรมเด็ก.
ประสิทธ์ พงษ์เรืองพันธุ์ และเรณา พงษ์เรืองพันธุ์. (2541). การวิจัยทางการพยาบาล.
ชลบุรี : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). เทคนิคการสอนและวิธีการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ,
อวยชัย วะทา. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาผู้นำาองค์กรชาวบ้านเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชุมชน
จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา
ภูมิภาค บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เอื้อจิต สุขพูล. (2550). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร
ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ประจำาปีการศึกษา 2546. สุรินทร์ :
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรสุรินทร์.