บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยมีการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิมาอย่างต่อเนื่อง
แต่ยังพบว่ากลไกการอภิบาลระบบบริการปฐมภูมิและระบบธรรมาภิบาลยังไม่ชัดเจน
ส่งผลให้ประชาชนยังไม่เข้าใจและขาดความเชื่อมั่นต่อระบบบริการปฐมภูมิ บุคลากรไม่
เพียงพอและศักยภาพของบุคลากรยังมีจำกัดในการจัดการกับปัจจัยด้านสุขภาพ
ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การเจ็บป่วยของประชาชนโดยรวมไม่ลดลง เจ็บป่วยด้วยโรคที่
สามารถป้องกันได้ ประชาชนไม่พึ่งตนเองด้านสุขภาพ หวังพึ่งเจ้าหน้าที่และระบบ
บริการสุขภาพขาดความใส่ใจหรือไม่ตระหนักเรื่องสุขภาพในวิถีการดำาเนินชีวิต
ดังนั้น การปฏิรูปการสาธารณสุขของประเทศไทยในระยะ 20 ปี ได้ให้ความสำคัญกับ
การอภิบาลระบบบริการปฐมภูมิให้ยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ จัดระบบบริการสุขภาพ
ให้ครอบคลุม เป็นธรรม ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสุขภาพคนไทยเชิงรุกเน้นสร้าง
ความเข้มแข็งของระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System) เป็น
การบูรณาการการดำเนินงานด้านสุขภาพในพื้นที่ อาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย
สุขภาพที่เรียกว่า “ทีมหมอครอบครัว(Family Care Team)” ในการแก้ไข้ปัญหาสุขภาพ
โดยการจัดการความรู้แบบอิงบริบทของแต่ละพื้นที่ระบบสุขภาพระดับอำเภอ
เน้นการทำางานเป็นทีมของสหวิชาชีพในรูปแบบของทีมหมอครอบครัวพยาบาลวิชาชีพ
เป็นส่วนหนึ่งของทีมหมอครอบครัว ที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติงานทุกขั้นตอนของ
การดำเนินงาน สามารถเชื่อมโยงการดูแลที่มีมิติทางจิตใจและจิตวิญญาณได้เป็นอย่างดี
ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก เชื่อมประสานการดำาเนินงานในพื้นที่
และสถานบริการสุขภาพได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ให้มีความสอดคล้อง
กับการดำเนินงานของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพและต้องมีความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับแนวคิดหลักการการดำาเนินงานระบบสุขภาพระดับอำาเภอ ทีมหมอครอบครัว อีกทั้ง
ต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีความพร้อมในการดำาเนินงานและสามารถนำามาประยุกต์ใช้
ในการปฏิบัติงานทั้งในสถานบริการและชุมชน สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับทีม
สหวิชาชีพได้และตอบสนองต่อการดำาเนินงานด้านสุขภาพของประชาชน ครอบครัว
ชุมชน ได้ตลอดระยะเวลา เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ พึ่ง
ตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน ส่งผลให้สถานะสุขภาพของประชาชน
ในอำเภอดีขึ้น
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ฉบับที่ 12”.สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560, จาก https://wops.moph.go.th/ops/oic/
data/20161115144754_1_.pdf
ประภา ลิ้มประสูติและคณะ. (2554). “บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในระบบสุขภาพใหม่ กรณีศึกษา
จังหวัดพิษณุโลก” วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 5(2) : 89
ประสิทธิ์ ลีระพันธ์. (2556). “ความเข้าใจพื้นฐานเรื่องปัญหาสุขภาพของสังคมไทย”.
สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560, จาก https://nuph.health.nu.ac.th/phnu/ckeditor/
upload/fles/1378977160_123.pdf
สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. (2558). “ความเชื่อมโยง ทีมหมอครอบครัว คุณภาพเครือข่าย
บริการปฐมภูมิ ระบบสุขภาพอำาเภอ และระบบสุขภาพชุมชน”. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม
2560, จาก https://www.thaiichr.org/autopagev4/fles/qiE1LSbTue104507.pdf.
สุรีย์ภรณ์ เลิศวัชรสกุลและคณะ. (2557). “กระบวนการบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพระดับอำาเภอ
อย่างเป็นเอกภาพ จังหวัดพะเยา”. สำานักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา
สำานักการพยาบาล. (2559). มาตรฐานการพยาบาลในชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี :
สำานักพิมพ์สื่อตะวันจำากัด.
สำานักบริหารการสาธารณสุข. (2557). ทีมหมอครอบครัว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย จำากัด.
สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). เสริมคุณค่าปฐมภูมิด้วยระบบสุขภาพระดับอำาเภอ
(รสอ). กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์มูลนิธิแพทย์ชนบท