การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษ โดยบูรณาการยุทธวิธีส่งเสริมการคิดขั้นสูงเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ ทดลองใช้และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ
การเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขา
วิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้น
ปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่กำลังศึกษาในภาคเรียน
ที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการสอนการ
อ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการยุทธวิธีส่งเสริมการคิดขั้นสูง คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียน
รู้ แบบฝึกการอ่าน แบบบันทึกการอ่าน แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความ
เข้าใจ แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการ
เรียนรู้ตามรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที
แบบไม่อิสระและข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอน มีผลสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการเรียนการสอนการอ่าน
ภาษาอังกฤษโดยบูรณาการยุทธวิธีส่งเสริมการคิดขั้นสูงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษา
อังกฤษเพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2
ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “PMIAAR Model” มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียน
การสอน และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ โดยมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นเตรียม
ความพร้อม (Preparing Prerequisite Skills: P) (2) ขั้นนำเสนอยุทธวิธี (Modeling Strategies: M)
(3) ขั้นฝึกทักษะโดยการชี้แนะ (Implementing Guided Practice: I) (4) ขั้นฝึกทักษะอย่างทักษะ
(Assigning Independent Practice: A) (5) ขั้นประเมินผลการอ่าน (Assessing and Evaluating:
A) (6) ขั้นสะท้อนผลการเรียนรู้ (Reflecting: R) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษ
ที่พัฒนาขึ้นมานี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.46/80.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) นักศึกษา
มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการจัดเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการ
เรียนการสอน PMIAAR Model สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .053) ทักษะการ
คิดวิเคราะห์ของนักศึกษาที่เรียนโดยรูปแบบการเรียนการสอน PMIAAR Model หลังเรียนสูงกว่าก่อน
เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .054) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการ
สอน PMIAAR Model อยู่ในระดับมาก
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์