ทัศนคติต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อบริการทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย ภายหลังเหตุการณ์นํ้ามันรั่วไหลบริเวณอ่าวพร้าวเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง

Main Article Content

กฤษรักษ์ อยู่เจริญ
เจริญชัย เอกมาไพศาล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลประชากรศาสตร์กับทัศนคติ
ของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อบริการทางการท่องเที่ยวและปัจจัยที่ส่งผล
ต่อการกลับมาท่องเที่ยวซํ้า ที่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ภายหลังเหตุการณ์นํ้ามันรั่วไหลขึ้นบริเวณอ่าว
พร้าว เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งกล่าวได้ว่าเกาะเสม็ด จังหวัดระยองเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่
มีชื่อเสียงและมีศักยภาพสูงทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย หากแต่การเกิดเหตุการณ์นํ้ามันรั่วไหล
ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของเกาะเสม็ดในด้านต่าง ๆ โดยการศึกษานี้ดำเนินการเก็บแบบสอบถาม
จำนวน 300 ตัวอย่างและทำการวิเคราะห์ผลของความเสียหายตลอดจนการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ที่สำคัญในประเด็นดังกล่าว
ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความสัมพันธ์กับทัศนคติ
ต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อบริการทางการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งพบว่าปัจจัย
ด้านทรัพยากรทางการท่องเที่ยวส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาท่องเที่ยวซํ้า ภายหลังเหตุการณ์นํ้ามันรั่ว


The research aimed to examine the relationship between demographic data
and attitudes towards factors that lead to the decisions to purchase tourism services
and contribute to the return to Koh Samet, Rayong province. Koh Samet, one of the
most popular tourist attractions in Thailand, is considered as a high potential tourist
destination. However on 27 July 2013, the catastrophic oil spill profoundly affected
tourism industry in Koh Samet. This study was conducted by using questionnaires
collected from 300 samples of Thai tourists and analyzed for the results of this disaster
as well as for providing an important policy on this issue.
Results revealed that demographic data were associated with the attitudes
towards factors that caused the decisions to purchase tourism services. Also, the
tourism resources factors affected the repeated travel to Koh Samet after the oil spill.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)