สำรวจการรับรู้ของเยาวชนผ่านการวิเคราะห์ กราฟิกรูปด้านทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มุ่งเน้นศึกษาการรับรู้ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองเชียงใหม่ของเยาวชนชาวเชียงใหม่ เพื่อนำไปสู่การออกแบบอินโฟกราฟิกสำหรับการให้ข้อมูลสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองเชียงใหม่เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาของเยาวชน โดยในงานวิจัยชิ้นนี้ ใช้กลุ่มตัวอย่างของเยาวชนในเมืองเชียงใหม่ช่วงอายุ 16 – 18 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุของเยาวชนที่สามารถตอบปัญหาเชิงซับซ้อนได้ โดยเป็นตัวแปรตามที่สำคัญในการแสดงความคิดเห็นผ่านมุมมองการรับรู้ของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองเชียงใหม่ จากการวิเคราะห์ภาพกราฟิกรูปด้านสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองเชียงใหม่ โดยเป็นการเลือกใช้วิธีการแปลงองค์ประกอบของภาพถ่ายรูปด้านหน้าสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ โดยใช้หลักการของเกสตัลต์ ทำให้อาคารอยู่ในรูปแบบภาพกราฟิก ซึ่งภาพกราฟิกรูปด้านอาคารเป็นตัวแปรต้นที่มีคุณสมบัติในการลดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นในการมองเห็น ให้เหลือเพียงองค์ประกอบสำคัญที่มีผลกับการรับรู้องค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองเชียงใหม่ และจะใช้วิธีการสำรวจกับเยาวชนโดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการรับรู้ลักษณะองค์ประกอบรูปด้านหน้าสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองเชียงใหม่
2) แบบสอบถามประสบการณ์ของเยาวชนต่อรูปด้านหน้าอาคารสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองเชียงใหม่ 3) การสัมภาษณ์ประสบการณ์เชิงลึกและการให้คุณค่าสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของกลุ่มสนทนาเพื่อเจาะประเด็น โดยนำไปสู่การสรุปผลการศึกษาการรับรู้ลักษณะองค์ประกอบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองที่สำคัญ พบว่า เยาวชนรับรู้ลักษณะความซ้ำขององค์ประกอบอาคารมากที่สุด การรับรู้ความสมมาตร และการรับรู้ลักษณะความโดดเด่นขององค์ประกอบอาคารน้อยที่สุด โดยที่เยาวชนสังเกตองค์ประกอบจากภาพรวมของมวลอาคาร โดยลักษณะความซ้ำเป็นสิ่งที่เยาวชนสามารถมองเห็นได้จากคุณสมบัติของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองเชียงใหม่ที่แสดงความซ้ำมากที่สุดผ่านรูปด้านอาคาร การรับรู้ของเยาวชนจะเป็นปัจจัยในการกำหนดทิศทางของการให้ความหมายสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อที่จะทำให้เข้าใจความคิดเห็นของเยาวชนรุ่นใหม่ต่อสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเชียงใหม่ได้ดียิ่งขึ้น โดยลักษณะของอาคารเหล่านี้ จะถูกนำไปวิเคราะห์ร่วมกับการศึกษาร่วมกับประสบการณ์ของเยาวชนที่มีต่อสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการรับรู้การมีอยู่ของอาคารเหล่านี้ในช่วงเวลาปัจจุบัน และการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองเชียงใหม่ของเยาวชนชาวเชียงใหม่จากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยสิ่งเหล่านี้ทำให้สามารถเข้าใจการรับรู้ของเยาวชนจากองค์ประกอบลักษณะของอาคารที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ของเยาวชน ทั้งมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมกับอาคารเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน โดยเป็นการแสดงความคิดเห็นเพื่อการตระหนักรู้ถึงคุณค่า ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของอาคารจากมุมมองการรับรู้ของเยาวชนในยุคปัจจุบัน และความคิดเห็นเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์อาคารโดยจะนำไปสู่การทำข้อเสนอแนะสำหรับเยาวชน เพื่อทำให้ข้อมูลสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเมืองเชียงใหม่เป็นที่เข้าถึงง่ายต่อการเรียนรู้
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
เกียรติศักดิ์ ฤกษ์บุตรศรี. (2548). การรับรู้ความเคลื่อนไหวทางสายตากับการออกแบบสถาปัตยกรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
จิตรกร ปันโปธิ และ ปรานอม ตันสุขานันท์. (2563). การประเมินคุณภาพทางสายตาขององค์ประกอบสำคัญของเมืองเก่าเชียงใหม่โดยมีส่วนร่วม. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 19(1), 60–64. http://doi.org/10.14456/bei.2020.4
ชดา ร่มไทรย์. (2550). การใช้ลักษณะพื้นถิ่นบนอาคารตึกแถวเก่าในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่จากการรับรู้ของประชาชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
ชาตรี ประกิตนนทการ. (2563). ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร (ฉบับปรับปรุง). มติชน.
ณัฏฐกิตติ์ เพ็ชรสุริยา. (2557). ความชื่นชอบรูปด้านหน้าอาคารแถวในเขตเมืองเก่าลำปาง. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 1(1), 1-14.
พีระพงษ์ พรมชาติ. (2559). สำรวจสถาปัตยกรรมเชียงใหม่ในยุคเปลี่ยนผ่านทางการเมืองช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2427–2475 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
รชานนท์ มีเอี่ยม. (2557). การรับรู้ในงานสถาปัตยกรรมและการบิดเบือนที่ส่งผลต่อการรับรู้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
วิญญู อาจรักษา. (2563). หลากทันสมัย: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, วีระ อินพันทัง, สันติรักษ์ ประเสริฐสุข, อภินันท์ พงศ์เมธากุล, บุษกร เสรฐวรกิจ, รุ่งรัตน์ เต็งเก้าประเสริฐ, วิญญู อาจรักษา และ ชุติมา ขจรณรงค์วณิช. (2558). โครงการการสร้างสรรค์เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. https://elibrary.tsri.or.th/fullP/BRG5480015/BRG5480015V07/BRG5480015V07_full.pdf
สันต์ สุวัจฉราภินันท์. (2559). เชียงใหม่-ใหม่: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่แห่งเมืองเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2427-2518. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภาวดี คำรังษี และ ปรานอม ตันสุขานันท์. (2564). ความเร่งด่วนในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าบนถนนสายหลักในเมืองเก่าลำพูน. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 8(2), 2-25.
สุริยะ ฉายะเจริญ. (2562). การสร้างสรรค์วาดเส้นจิตรกรรมและจิตรกรรมดิจิทัลชุด “วัดเซนโซจิ 2018”. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 18(24), 157–158.