การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลสารสนเทศเมือง เพื่อบังคับใช้ตามผังเมืองรวมท่าโขลง คลองหลวง รังสิต จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ณัฐพงศ์ เพื่อนสงคราม
ธราวุฒิ บุญเหลือ

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดทำผังเมืองและรวบรวมข้อมูลสารสนเทศเมือง เพื่อเสนอแนะเทคนิคการใช้เครื่องมือสารสนเทศเมืองที่ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำผังเมือง เทศบาลเมืองท่าโขลง เทศบาลเมืองคลองหลวง และเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี ในการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้เครื่องมือสารสนเทศที่ใช้ในการวิเคราะห์ด้านกายภาพด้วยวิธีการเปรียบเทียบผังการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อหาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ร่วมกับแบบสัมภาษณ์เจาะจงในการลงพื้นที่กับหน่วยงานหรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดทำผังเมือง เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีการใช้ที่ดินที่ผิดไปบางประเภทไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและมีการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 จึงได้ทำการเสนอแนะเทคนิคและเครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำผังเมือง ผลการศึกษา พบว่า จากการสัมภาษณ์สามารถจัดลำดับความสำคัญของแผนผังตามกระบวนการจัดทำผังเมือง แผนผังที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนผังโทรคมนาคม และแผนผังน้ำ ตามลำดับ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการวางแผนและรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ แก้ไข โดยจะประยุกต์ใช้ทางด้านการวิเคราะห์ด้านกายภาพให้สอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีในการวิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่าง พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2562 พบว่า การเปลี่ยนแปลงที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยมีการเปลี่ยนแปลงสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 75 ของพื้นที่และที่ดินประเภทอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงรองลงมาตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและการขยายตัวของประชากร ทำให้เกิดการขยายตัวของแหล่งที่อยู่อาศัยหรือมีการขยายตัวของเมือง จึงเกิดความหนาแน่นของพื้นที่ ผู้วิจัยได้คำนวณและกำหนดค่า FAR, BCR และ OSR ทั้ง 3 เขตเทศบาลในแต่ละบล็อกของการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อใช้เครื่องมือในการกำหนดแนวทางในการพัฒนาและวิเคราะห์ผลกระทบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตและจินตภาพของเมือง เพื่อเสนอแนะเครื่องมือสารสนเทศเมือง SuperMap 10i ที่ช่วยในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ในแต่ละหน่วยงาน สะดวก รวดเร็ว สามารถรวบรวมข้อมูล Data Center บน Cloud Server ที่มีระบบป้องกันขั้นสูงและแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบของ Dashboard บน Web Browser หรือ Mobile ซึ่งให้ง่ายต่อการแสดงผลที่ใช้จัดทำเป็นแนวทางในการจัดทำผังเมืองให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น

Downloads

Article Details

How to Cite
เพื่อนสงคราม ณ. ., & บุญเหลือ ธ. . (2025). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลสารสนเทศเมือง เพื่อบังคับใช้ตามผังเมืองรวมท่าโขลง คลองหลวง รังสิต จังหวัดปทุมธานี. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 7(1), 12–24. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/270194
บท
บทความวิจัย

References

กรมชลประทาน. (2563, 10 กุมภาพันธ์). ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS. http://kmcenter.rid.go.th/kcitc/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=196:2009-09-3009-27-16&catid=47:2011-08-25-08-18-13

พระราชบัญญัติการผังเมือง 2562. (2562, 29 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 71 ก หน้า 27-70.

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2562, 8 กุมภาพันธ์). พระราชบัญญัติการผังเมือง 2562. http://subsites.dpt.go.th/edocument/index.php/docurban/1-2017-04-03-02-20-29

กัญญารัตน์ ศรีธินนท์. (2558). การพัฒนาเครื่องมือ FAR Bonus ในการเพิ่มที่โล่งเพื่อประโยชน์สาธารณะตามผังเมืองรวม กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]. KU E-thesis. https://intanin.lib.ku.ac.th/search?/a{u0E01}{u0E31}{u0E0D}{u0E0D}{u0E32}{u0E23}{u0E31}{u0E15}{u0E19}{u0E4C}+/a|a1d1adadd2c3d1b5b9ec/1%2C41%2C101%2CB/frameset&FF=a|a1d1adadd2c3d1b5b9ec+c8c3d5b8d4b9b9b7ec&1%2C1%2C

จักรพงษ์ มาพร. (2558). วิธีการกำหนดอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินในพื้นที่ประวัติศาสตร์ของเมือง: กรณีศึกษาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace JSPUI. http://ithesisir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/706

พิเศษ เสนาวงษ์. (2564). การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนเพื่อการขับเคลื่อนตามแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(1), 16–31. http://www.human.lpru.ac.th/husocojs/index.php/HUSOCReview/article/viewFile/174/120

มานะ สินธุวงษานนท์, ณัฐยา บุญกองแสน และ กชกร หวังเติมกลาง. (2566). การศึกษากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(6), 527–544. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JMCR/article/view/3355

ศิริวัฒน์ เจนรังสรรค์ และ วิมลสิริ แสงกรด. (2562). การพัฒนาเทศบาลเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 361–375. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/issue/view/16630

ศูนย์วิจัยภูมิศาสตร์เพื่อประเทศไทย. (2562, 21 มกราคม). องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. http://www.gisthai.org/about-gis/compo-gis.html

สำนักงานเทศบาลนครรังสิต. (2562, 22 มกราคม). โครงการจ้างที่ปรึกษาวางและปรับปรุงผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง-คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี. https://www.dla.go.th/upload/news/type3/2018/7/39311_3.pdf?time=1532553298924

Anthopoulos, L. G. (2015). Understanding the smart city domain: A literature review. In Transforming city governments for successful smart cities. (pp. 9–21). Springer. https://doi.org/10.1007/978-3-319-03167-5_2

Dantas, H. S., Sousa, J. M. M. S., & Melo, H. C. (2019). The importance of city information modeling (CIM) for cities’ sustainability. In IOP conference series: Earth and environmental science, 225(1). https://doi.org/10.1088/1755-1315/225/1/012074

Xu, X., Ding, L., Luo, H., & Ma, L. (2014). From building information modeling to city information modeling. Journal of Information Technology in Construction, 19, 292–307. https://www.itcon.org/paper/2014/17