ความต้องการพื้นที่การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ สำหรับหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายใน กรณีศึกษา สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเพื่อนำไปสู่การทำรายละเอียดโครงการการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์สำหรับหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายใน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดการกำหนดความสัมพันธ์พื้นที่ใช้สอยเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ศึกษาโครงสร้างหลักสูตร รูปแบบการจัดการเรียนการสอน และสภาพแวดล้อมอาคารเรียนปัจจุบัน สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ศึกษาองค์ประกอบพื้นที่ ความสัมพันธ์พื้นที่ใช้สอย เปรียบเทียบสัดส่วนพื้นที่ และนำเสนอแนวทางการออกแบบความสัมพันธ์พื้นที่เพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ควรมีความเป็นสังคมเพื่อการเชื่อมต่อความรู้ ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน บรรยากาศแบบไม่เป็นทางการ จัดพื้นที่ให้เกิดความสะดวกสบายดึงดูดใจ พื้นที่ไม่คับแคบ เสียงไม่ดัง อุณหภูมิที่เหมาะสม แสงสว่างทั้งจากแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ พื้นที่ใช้งานร่วมกันที่ยังคำนึงถึงความเป็นส่วนตัว การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมในการออกแบบ มีเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพียงพอพร้อมใช้งาน รูปแบบเครื่องเรือนที่หลากหลาย มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายได้ตามรูปแบบกิจกรรม เก้าอี้ โต๊ะที่นั่งสบาย โต๊ะเขียนแบบที่เหมาะสมมีช่องวางของและแผงกั้นเพื่อให้เกิดสมาธิ ผลการศึกษากระบวนการเรียนการสอนพบความสอดคล้องกับการะบวนการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ 5 ขั้น ได้แก่ 1) ทำความเข้าใจและค้นพบ 2) วิเคราะห์และสร้างตัวเลือก 3) พัฒนาและออกแบบ 4) การผลิตและการนำไปปฏิบัติ 5) นำเสนอและทดสอบ ผลการศึกษาสภาพอาคารเรียนปัจจุบันพบว่า พื้นที่คับแคบไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ขาดองค์ประกอบพื้นที่ใช้สอย การใช้งานทับซ้อนกัน และสภาพอาคารที่ทรุดโทรม ผลการศึกษาองค์ประกอบและสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยพบสัดส่วนระหว่างพื้นที่การเรียนรู้และพื้นที่เพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์คือ 6:4 การคำนวณความต้องการพื้นที่ใช้สอย พื้นที่การเรียนรู้ 1,306.5 ตารางเมตร พื้นที่เพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ 871 ตารางเมตร ความสอดคล้องระหว่างกระบวนการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ 5 ขั้น กับองค์ประกอบใช้สอย พื้นที่ระดับสาธารณะในกระบวนขั้นตอนที่ 1, 2 และ 5 ได้แก่ พื้นที่อเนกประสงค์กลางแจ้งและในร่ม พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ พื้นที่นำเสนอและพิจารณาผลงาน หอประชุม ห้องบรรยายขนาดใหญ่ พื้นที่ระดับกึ่งสาธารณะในกระบวนการขั้นตอนที่ 1, 2 และ 3 ได้แก่ พื้นที่ห้องเรียนบรรยาย ห้องสมุด ศูนย์ข้อมูล พื้นที่สืบค้น และพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น พื้นที่ระดับส่วนตัวในกระบวนการขั้นตอนที่ 3 และ 4 ได้แก่ พื้นที่ปฏิบัติการ พื้นที่ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และงานสื่อ พื้นที่ปฏิบัติการลายเส้นและสีน้ำ
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
จันทนี เพชรานนท์. (2552). การทำรายละเอียดประกอบการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน. กรุงเทพฯ.
บุษกร รมยานนท์. (2558). การออกแบบพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ด้วยตัวเองในมหาวิทยาลัย. Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS), 12(1), 15-28.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารของสถาบันอุดมศึกษา. (2556, 11 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 130.
ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. (2563). การจัดบรรยากาศชั้นเรียนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. วารสารครุศาสตร์สาร, 271-294.
พิพัฒน์ จรัสเพ็ชร. (2561). การจัดสภาพแวดล้อมกายภาพภายในห้องเรียนเขียนแบบที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พีรดร แก้วลาย และ ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า. (2018). สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้สาธารณะรูปแบบใหม่: การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้และผลกระทบที่มีต่อรายละเอียดโครงการ ที่ว่าง และสถาปัตยกรรมศูนย์ความรู้ร่วมสมัย. Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS), 15, 135-152.
ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ และ ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2020). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฏอัตลักษณ์ไทยสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. Journal of Education Studies, 48(3).
มคอ 2 หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565. (2565). มหาวิทยาลัยพะเยา.
วราวุฒิ วรานันตกุล, อรวรรณ วรานันตกุล, ศุภาวิณี กิติวินิต, ซูซัน หามะ และ จรินรัตน์ วรวงศ์พิทักษ์. (2021). สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. Journal of Modern Learning Development, 6(4).
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2563). สร้างสรรค์การเรียนรู้ด้วยตนเอง = Create Your. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2545). งานออกแบบเป็นงานวิจัยได้หรือ. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 15(2).
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2554). จิตวิทยาสภาพแวดล้อมมูลฐานการสร้างสรรค์และจัดการสภาพแวดล้อมน่าอยู่อาศัย. กรุงเทพฯ.
วีซานา อับดุลเลาะ. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1).
สิวราช อินต๊ะวิชัย. (2021). การศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University, 11(3).
สืบสาย แสงวชิระภิบาล และ กิติศักดิ์ เยาวนานนท. (2022). การออกแบบภายในพื้นที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ทีทัศน์วัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 113–144.
สุธีรา งามเกียรติทรัพย์. (2564). การสร้างบรรยากาศในการเรียนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์. วารสาร นิตยสารเสียงธรรมจากมหายาน, 7(1).
สุวิมล ว่องวานิช. (2532). การกระจายของขนาดชั้นเรียนของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิธีวิทยาการวิจัย, 4(3), 56–66.
อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้สำหรับสถาบันอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(2).
Anandasivam, K., & Choy, F. C. (2008). Designing a creative learning environment: NTU's new Art, Design and Media Library. The Electronic Library, 26, 650–661.
Art and Architecture Faculty / Ventura Trindade Arquitectos + Inês Lobo Arquitectos. (2013). ArchDaily. https://www.archdaily.com/456753/art-and-architecture-faculty-ines-lobo-arquitectos
Baars, S., Schellings, G. L. M., Joore, J. P., & van Wesemael, P. J. V. (2023). Physical learning environments' supportiveness to innovative pedagogies. Learning Environments Research, 26(2), 617–659.
Bøjer, B. H. (2018). Creating a space for creative learning: The importance of engaging management and teachers. ResearchGate. https://www.researchgate.net/publication/324861586
Davies, D. (2013). Creative learning environments in education: A systematic literature review. Thinking Skills and Creativity, 8, 80–91.
Erktin, E., & Soygeniş, S. (2016). Learning by experiencing the space: Informal learning environments in architecture education. Bogazici University Journal of Education, 31(1), 81-92.
Institute at School of Planning and Architecture, Vijayawada / MO-OF. (2019). ArchDaily. https://www.archdaily.com/911657/institute-at-school-of-planning-and-architecture-vijayawada-mo-of
K Building, School of Architecture and Construction Autonomous University of Chile. (2019). ArchDaily. https://www.archdaily.com/915150/k-building-school-of-architecture-and-construction-autonomous-university-of-chile-schmidt-restrepo-arquitectos
Kansas State University – College of Architecture, Planning and Design/Ennead Architects+BNIM. (2018). ArchDaily. https://www.archdaily.com/902451/kansas-state-university-college-of-architecture-planning-and-design-ennead-architects-plus-bnm
McEwen School of Architecture / LGA Architectural Partners. (2018). ArchDaily. https://www.archdaily.com/892818/mcewen-school-of-architecture-lga-architectural-partners
MSAP Architecture & Design School / The Purple Ink Studio. (2023). ArchDaily. https://www.archdaily.com/996681/msap-architecture-and-design-school-the-purple-ink-studio
School of Architecture, Crescent University / architectureRED. (2019). ArchDaily. https://www.archdaily.com/930867/school-of-architecture-crescent-university-architecturered
Yale Art + Architecture Building / Gwathmey Siegel & Associates Architects. (2011). ArchDaily. https://www.archdaily.com/123171/yale-art-architecture-building-gwathmey-siegel-associates-architects