แนวทางการออกแบบศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม ของหน่วยงานภาครัฐและชุมชน จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
จังหวัดน่านนับเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ หน่วยงานส่วนท้องถิ่นจึงมีแนวคิดจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบไม่พักค้างคืนขึ้น ซึ่งมีเป้าหมายให้เป็นโครงการที่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้ทำงานร่วมกันผ่านการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ในงานวิจัย คือ ศึกษากระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การสร้างแนวทางการออกแบบศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมตามหลักบริการสุขภาพ และศึกษากิจกรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งเสริมทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยผลการวิจัยภายใต้แนวคิดการทำงานแบบมีส่วนร่วมพบว่า ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบไม่พักค้างคืน ควรมีพื้นที่ใช้สอยเพื่อการดูแล ฟื้นฟู สุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นหลัก ได้แก่ ส่วนกายภาพบำบัด ส่วนกิจกรรมบำบัด และส่วนออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ซึ่งผลที่ได้นั้น เป็นผลลัพธ์ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพึงพอใจ อีกทั้งกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมโดยมีสถาบันการศึกษาเป็นผู้ผลิตผลงาน ยังเป็นการสร้างระบบนิเวศน์แห่งการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ตามความต้องการของตลาดในอนาคต
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กระทรวงศึกษาธิการ (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. https://secondary.obec.go.th/newweb/wp-content/uploads/2017/12/E-CEN21book.pdf
กระทรวงสาธารณสุข (2559). คู่มือการปฏิบัติงาน: บริการสุขภาพ (ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูและคุ้มครองผู้บริโภค)
กระทรวงสาธารณสุข (2563). ราชกิจจานุเบกษา: กฏกระทรวง กำหนดให้กิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงเป็นกิจการอื่นในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ. พ.ศ.2563 หน้า 7
กระทรวงสาธารณสุข (2566).กิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง. https://esta.hss.moph.go.th/shop_passed.php
กระทรวงสาธารณสุข (2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. หน้า 14
กรมกิจการผู้สูงอายุ (2566). สถิติผู้สูงอายุ ข้อมูลผู้สูงอายุทั่วไป. https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449
เชียงใหม่ นิวส์ (2565). รพ.น่าน พัฒนาระบบสุขภาพเมือง ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ.co.th/news/2779158/ https://www.chiangmainews.
เทศบาลเมืองน่าน. (2565). ภาพกิจกรรม. https://www.nancity.go.th/
ธีรวี ทองเจือ และ ปรีดี ทุมเมฆ. (2560). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 :มิติด้านการศึกษา. วารสารสันติศึกษาปรินิทรรศน์ มจร. 5,. 389-403.
นัชชา ทิพเนตร. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนและรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(8), 395-413.
ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร และ โชติกา แก่นธิยา. (2562). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อนโยบายสาธารณะ. วารสารวิจัยวิชาการ,2(1), 101-116.
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน. หน้า 60
สุบิน ไชยยะ. (2562). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 20(1), 168-180.
สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฏีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 183-196.
สำนักงาน ก.พ. วารสารข้าราชการ (2561). ภาครัฐกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย. OCSC e-Journal.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (2564). รายงานการศึกษา การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) เพื่อรองรับการพลิกโฉมฉับพลันและวิกฤตการณ์โลก. https://www.nxpo.or.th/th/report/9519/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2565). สถิติผู้สูงอายุ. https://www.dop.go.th/th/know/1
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมณตรี (2564). ราชกิจจานุเบกษา: กฏกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ.2564
Atilla Dilekci., & Halit Karatay. (2023). The effects of the 21st century skills curriculum on the development of students’ creative thinking skills. Thinking Skills and Creativity 47 (2023). 1-11
Atiyann, S. & Team. (2021). Development Situation of Public Health Personnel in Praboromarajchanok Institute to support Primary Care Cluster (PCC) Team: A Qualitative Study. Journal of Prachomklao College of Nursing Phetchaburi Province, 4(1), 99-114.
Aurathai Manathura (2012). Client Perception on the Primary Care Service Provided by the Chakarat Health Service Network, Amphur Chakarat, Nakhonratchasima. The journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima, 18(1), (17-28)
Eva Garc’ia-Carpintero Blas.,Cristina Go’mez Moreno., Alberto Tovar Reinoso., Estela A’lvarez Go’mez., Montserrat Ruiz Lopez., & Esperanza Ve’lez Ve’lez. (2024). Elderly care through new eyes: Insights from Spain’s future nurses” A phenomenological study. Geriatric Nursing, 59(2024), 401-410.
Faridah Musa., Norlaila Mufti., Rozmel Abdul Latiff., & Maryam Mohamed Arnin. (2012). Project-base learning (PjBL): inculcating soft skills in 21st Century Workplace. Procedia - Social and Behavioral Sciences. Volume 59 october (2012). 565-573
John M. Cohen., & Norman T. Uphoff. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development 8 (1980). 213-235.
Roberta Sisto., Antonio Lopolito., Mathijs van Vliet. (2018). Stakeholder participation in planning rural development strategies: Using backcasting to support Local Action Groups in complying with CLLD requirements. Land Use Policy 70 (2018). 442-450
Sherry R. Arnstein. (1969). A Ladder Of Citizen Participation. Journal of the American Planning Association, 35(4), 216-224.
Wichai wongyai and Marut Phatphon. (2023). Learning and Development Skills. Innovation Center for Curriculum and Learning, Srinakharinwirot University.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2022). The Thirteenth National Economic and Social Development Plan (2023-2027). Bangkok, Thailand.
Office of the Official Gazette. (2018). 20-Year National Strategy (2018-2037). Bangkok, Thailand.
Xiaoming Li and Xiangfeng Li. (2023). Investigating the Impacts of Urban Built Environments on Users of Multiple Services in Elderly Care Facilities. Frontiers of Architecture 12 (2023). 999-1010