การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ข้าวเจ็กเชยเสาไห้ (ข้าว GI) จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

มัทธนี ปราโมทย์เมือง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น  2) เพื่อประเมินผลความพึงพอใจต่อรูปแบบใหม่ของผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ข้าวเจ็กเชยเสาไห้ (ข้าว GI) จังหวัดสระบุรี โดยใช้เครื่องมือในงานวิจัยรูปแบบผสมผสาน ใช้วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการศึกษาค้นคว้าข้อมูล การสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มย่อย แบบสอบถาม โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ผล เพื่อกำหนดแนวคิดนำสู่กระบวนการออกแบบ พัฒนา ผลิตต้นแบบผลงานและประเมินผลความพึงพอใจต่อรูปแบบใหม่ของผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนและนักท่องเที่ยวภายในจังหวัดสระบุรี  จำนวน 70 คน ผลการวิจัย พบว่า “ฟางข้าว” เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรของพื้นที่จากการทำนา เกี่ยวข้าวที่จะเผาทำลาย มาทำให้เกิดประโยชน์ เป็นกระดาษจากฟางข้าว แล้วต่อยอดสู่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ มี 2 ส่วน คือ 1) การออกแบบกระเป๋าสะพายและการะเป๋าถือสำหรับสุภาพสตรี และ 2) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เป็นลักษณะสายคาดกล่องอาหาร, ป้ายสินค้า (Tag) และเป็นหูจับ ซึ่งในการประเมินผลรูปแบบใหม่ของผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.23 และแยกข้อย่อยหัวข้อที่มีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ 1) ที่มีการนำฟางข้าวมาใช้ได้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ได้อย่างดี มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.35 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2551). ประกาศโฆษณาการรับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. ปีที่ 4 เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: กระทรวง

พาณิชย์.

จุฬาลักษณ์ จารุจุฑารัตน์, วงศ์ทอง เขียนวงศ์, และ จักฤษณ์ พนาลี. (2561). การออกแบบบรรจุภัณฑ์เสริมภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์จาก

ฟางข้าว สำหรับผลิตภัณฑ์ผลไม้แช่อิ่มกรณีศึกษา : ชุมชนสี่แยกบ้านแขก แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

สารสนเทศ, 17(2), 35-44. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/oarit/article/view/166610

ณธกร อุไรรัตน์. (2559). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการศึกษาเพื่อการพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวเจ็กเชยเสาไห้ จังหวัด

สระบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

นวลน้อย บุญวงษ์. (2542). หลักการออกแบบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

นิรัช สุดสังข์. (2548). การวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

ประชิต ทินบุตร. (2530). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

มัทธนี ปราโมทย์เมือง และ รุจิวรรณ อันสงคราม. (2565). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการพัฒนาและ

ยกระดับผลิตภัณฑ์เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน: กลุ่มข้าวเจ็กเชย

เสาไห้ (ข้าวGI) จังหวัดสระบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรงุเทพฯ: แอ๊ปป้าพริ้นติ้งกรุ๊ปจำกัด.

อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. (2564, 20 กันยายน). แผนพัฒนาท้องถิ่น 2566-2570. องค์การ

บริหารส่วนตำบลม่วงงาม http://www.moungngam.go.th/ news/doc_download /a_231123_132641.pdf

Leulee Nortoualee. (2564). การเพิ่มมูลค่าฟางข้าวเป็นกระดาษบรรจุภัณฑ์. [ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่

โจ้]. http://mdc.library.mju.ac.th/thesis/2564/leulee_nortoualee/fulltext.pdf