ความคาดหวังในการลงทุนถือครองอสังหาริมทรัพย์บนโลกเสมือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการวิเคราะห์และอธิบายความคาดหวังที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนถือครองอสังหาริมทรัพย์บนโลกเสมือน โดยอ้างอิงกับทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (hierarchy of needs theory) ผ่านการสัมภาษณ์ผู้ที่ได้ลงทุนถือครองอสังหาริมทรัพย์บนโลกเสมือนในรูปแบบที่ดินดิจิทัล (virtual land) จำนวน 16 คน ในแพลตฟอร์มของ The Sandbox ซึ่งเป็นหนึ่งใน Virtual real estate platform ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังที่นำไปสู่การตัดสินใจของผู้ลงทุนในที่ดินดิจิทัล
ผลการวิจัยพบว่า ความคาดหวังที่นักลงทุนที่ดินดิจิทัลใช้ในการตัดสินใจสามารถจำแนกออกเป็น 3 ลำดับขั้น คือ 1) ความคาดหวังของนักลงทุนในการเสริมสร้างโอกาสและความชอบส่วนตัว ประกอบด้วยการมีอิสระในการสร้างสรรค์ประโยชน์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ การมีรูปแบบความสวยงามและบรรยากาศที่มีเอกลักษณ์ ตลอดจนการได้มาซึ่งสิทธิพิเศษที่เหนือกว่าผู้อื่นทั้งในด้านการใช้งานและผลประโยชน์ที่ได้รับ 2) ความคาดหวังที่การลงทุนในที่ดินดิจิทัลจะนำไปสู่การรวมกลุ่มผู้มีสิทธิพิเศษทางสังคมการมีรูปแบบการสร้างรายได้ที่หลากหลายและการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทรัพย์สิน ตลอดจนการได้ครอบครองในสิ่งที่มีจำนวนจำกัดและเป็นที่ต้องการของผู้อื่น 3) ความคาดหวังที่ แพลตฟอร์ม (platform) จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนอันนำไปสู่การเพิ่มปริมาณการลงทุนและการเพิ่มระยะเวลาการถือครองที่นานขึ้น ประกอบด้วยการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรผู้ใช้งาน การพัฒนาที่ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ และการเชื่องโยงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้งานในชีวิตประจำวัน จากความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบความคาดหวังที่เป็นลำดับขั้น ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนถือครองอสังหาริมทรัพย์บนโลกเสมือน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
Barrera, K. G., & Shah, D. (2023). Marketing in the Metaverse: Conceptual understanding, framework, and research agenda. Journal of Business Research, 155(A), https://doi.org/10.1016/j.jbusres.2022.113420
Bartol, K. M., Martin, D. C., Tein, M., & Martin, G. (2003). Management – A Pacific Rim Focus. McGraw Hill.
Chen, B., Song C., Lin, B., Xu, X., Tang, R., Lin, Y., Yao, Y., Timoney, J., & Bi, T. (2022). A Cross-platform Metaverse Data. 2022 IEEE International Conference on Metrology for Extended Reality, 145-150. https://doi.org/10.1109/MetroXRAINE54828.2022.9967588
Cheng, R., Wu. N., Chen. S., & Han, B. (2022). Reality Check of Metaverse: A First Look at Commercial Social Virtual Reality Platforms. 2022 IEEE Conference on Virtual Reality and 3D User Interfaces Abstracts and Workshops (VRW), 141-148. https://doi.org/10.1109/VRW55335.2022.00040
Daouk-Oyry, L. (2023). Vroom’s Expectancy Theory. SAGEDavis, A., Murphy, J. D., Owens, D., Khazanchi, D., & Zigurs, I. (2009). Avatars, People, and Virtual Worlds: Foundations for Research in Metaverses. Journal of the Association for Information Systems, 10(2), 90-117. http://dx.doi.org/10.17705/1jais.00183
Felijo, G. G. (2023). Cities and Territorial Brand in The Metaverse: The Metaverse SEOUL Case. Sustainability, 15(13), https://doi.org/10.3390/su151310116
Gentile, C., Spiller, N., & Noci, G. (2007). How to Sustain the Customer Experience: An Overview of Experience Components that Co-create Value with the Customer. European Management Journal, 25(5), 395-410. https://doi.org/10.1016/j.emj.2007.08.005
Guven, I., & Ercan, T. (2022). Factors Determining the Value of Property: Comparison of Real World and Metaverse. 7th International Project and Construction Management Conference (IPCMC2022), 565-573. https://bit.ly/3RoO5Np
Schumacher, P. (2022). The metaverse as opportunity for architecture and society: design drivers, core competencies. Architectural Intelligence, 1(1), 11-30. https://doi.org/10.1007/s44223-022-00010-z
Serpil, H. (2022). The Metaverse or Meta-Awareness?. Journal of Metaverse, 3(1), 1-8. https://doi.org/10.57019/jmv.1093347
Solomon, M., White, K., & Dahl, D. W. (2017). Consumer Behaviour: Buying, Having, Being Seventh Canadian Edition. Pearson.
ออนไลน์
Blockchain research lab. (2022, November 22). An analysis of LAND in The Sandbox: Q4 2022. http://bit.ly/3ZKRFDc
EY Center. (2023, March 2). How boards can prepare for a future in the metaverse. https://bit.ly/44SVAQ2
Fudge, S. (2022, September 14). Maslow’s Hierarchy of Needs and Toronto Real Estate for Sellers. Urbaneer. https://bit.ly/3T62Nbb
Gartner. (2022, February 7). People Will Spend At Least One Hour Per Day in the Metaverse by 2026. http://bit.ly/3ZO9yRA
JP Morgan. (2022, March 8). Opportunities in the metaverse. https://bit.ly/3Z0he1X
Mcleod, S. (2023, July 26). Maslow’s Hierarchy Of Needs Theory. Simply Psychology. https://simplypsychology. org/maslow.html
Muchai, F. (2022, September 23) The fall of Metaverse and Virtual lands. Will it ever rise back?. Cryptopolitan. https://bit.ly/48izx8h
Republic realm. (2022, January 17). 2021 Metaverse Real Estate Report. https://everyrealm.com/projects#settle-in
Williamson, D. A. (2020, June 22). Uptick in US Adults' Social Media Usage Will Likely Normalize Post-Pandemic. Insider Intelligence. https://bit.ly/3q8neXW