การศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา พื้นที่เสนอขอขึ้นบัญชีพระธาตุพนมสู่มรดกโลก อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาพื้นที่เสนอขอขึ้นบัญชีพระธาตุพนมสู่มรดกโลก อ.ธาตุพนม จ.นครพนม เพื่อนำมาวิเคราะห์ใช้เป็นข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบไปด้วย การศึกษาแนวคิดทฤษฎี และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม การศึกษาพื้นที่และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรมโดยได้ทำการสำรวจพื้นที่ศึกษา เพื่อนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบของพระธาตุพนมและพื้นที่โดยรอบ ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ 8 ท่าน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ รวมทั้งผลการศึกษาการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดก (Heritage Impact Assessment: HIA) เพื่อหาแนวทางในการจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า ข้อเสนอแนะและแนวทางการจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม
การจัดการกับผลกระทบด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านอื่น ๆ ควรมีการใช้เครื่องมือ แผนแม่บทและกฎหมาย ข้อบังคับแนวทางปฏิบัติ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อแนวคิดเรื่องคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (OUV) การให้ความรู้ความเข้าใจกับภาคประชาชนจากทางภาครัฐ การส่งเสริมให้วัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยกันพัฒนาพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2562). โครงการวิจัยทางด้านอัตลักษณ์ทาง
สถาปัตยกรรม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม.
คณะกรรมการดำเนินงานเพื่อขอขึ้นทะเบียนพระธาตุพนมเป็นมรดกโลก. (2559). ปกป้อง เชิดชู บูชา พระธาตุพนมสู่มรดกโลก.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2540). อัตลักษณ์วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (สาขาภาษาไทย).
ธราวุฒิ บุญเหลือ และยุภาพร ไชยแสน (2562). การศึกษากระบวนการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศเมือง กรณีศึกษาขอบเขตพื้นที่ที่จะ
เสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลก อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. โครงการประชุมวิชาการวางแผนภาคและเมือง (URPAS
“ภูมิปัญญาเพื่อ เมืองอัจฉริยะ” (Wisdom for Smart City) ครั้งที่ 7, 13-14 มิถุนายน 2562 คณะสถาปัตยกรรม
ศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2562(7), 52-55
ธราวุฒิ บุญเหลือ, กฤษณุ ผโลปกรณ์ และยุภาพร ไชยแสน (2565) กระบวนการจัดทำผังแม่บทบริเวณพื้นที่จะเสนอขึ้นทะเบียนพระ
ธาตุพนมสู่มรดกโลก อำเภอธาตุพนม จังหวัด นครพนม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม:
นครพนม, 12(2), 329-345
ยุภาพร ไชยแสน และธราวุฒิ บุญเหลือ. (2564) การศึกษาเปรียบเทียบคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลของพระธาตุพนม สู่การเป็นแหล่ง
มรดกโลกทางวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม: นครพนม, 11(3), 279-292
ศูนย์วิจัยและพัฒนาสร้างสรรค์. (2562). โครงการจัดทำผังแม่บทบริเวณพื้นที่ที่จะเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลก อำเภอธาตุพนม
จังหวัดนครพนม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและแหล่งมรดกทางธรรมชาติเป็นแหล่งมรดกโลก. อี.ที.พับลิชชิ่ง.
สุจรรยา โชติช่วง. (2554). การศึกษาสภาพการพัฒนาอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อนุวัฒน์ การถัก, และทรงยศ วีระทวีมาศ. (2558). การเปลี่ยนผ่านความหมาย ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเมืองสกลนครในพุทธศตวรรษ ที่ 16-25. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 30.
Lynch, K. (1977). The image of the city. Cambridge : The MIT Press.
ICOMOS. (2011). Guidance on Heritage Impact Assessments for Cultural World Heritage Properties. Paris, France.
ICOMOS. (2011). A defendable system for assessing/evaluating impact. Paris, France.
Yahampath, P. (2014). Integrating Heritage Impact Assessment (HIA) into Environmental Impact Assessment (EIA) as a part of EnvironmentalManagement; case study-Northern Expressway of Sri Lanka. NIDA Case Research Journal, 6(2), 86-130.
ออนไลน์
กระทรวงวัฒนธรรม. (2563). หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก.http://164.115.22.96/convention.aspx#a4
พระธาตุพนมสู่มรดกโลก. (2564). การเป็นมรดกโลก ข้อดี/ข้อเสีย. Facebook. https://web.facebook.com/
Thatphanomintheworld/posts/312588570364390? _rdc=1&_rdr
ICOMOS, A. (2013). The Burra Charter: the Australia ICOMOS Charter for Places of Cultural Significance. https://australia.icomos.org/publications/burra-charter-practice-notes/
UNESCO. (2005). Tangible and Intangible Heritage. https://ich.unesco.org/en/tangible-and-intangible-heritage-00097