นวัตกรรมการออกแบบวัสดุตกแต่งผนังจากเส้นใยตาลโตนด ชุมชนรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

Main Article Content

รอฮานา แวดอเลาะ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบนวัตกรรมวัสดุตกแต่งผนัง ซึ่งเป็นการประยุกต์ผลิตภัณฑ์ขึ้นจากเส้นใยตาลโตนดเหลือใช้ สู่การพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่นับได้ว่าเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในลักษณะการต่อยอดจากต้นทุนเดิม รวมถึงเพิ่มคุณค่าให้แก่วัสดุในท้องถิ่นไปพร้อมกัน ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้จัดรูปแบบวิธีการศึกษา และทดลองการออกแบบนวัตกรรมวัสดุตกแต่งผนังจากเส้นใยตาลโตนด ดังนี้ 1) ศึกษาการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรในพื้นที่ชุมชน     รำแดง 2) ศึกษาภูมิปัญญาเชิงช่างเดิมในพื้นที่ชุมชนรำแดง 3) สำรวจความต้องการนวัตกรรมวัสดุตกแต่งผนังจากเส้นใยตาลโตนด 4) ทดสอบความเข็งแรงของเส้นใยตาลโตนด 5) ริเริ่มกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Participation) กระบวนการดังกล่าวข้างต้นสามารถแสดงให้เห็นถึงผลงานการสร้างสรรค์ออกแบบที่มีระบบ และกระบวนการทำงานตามกรอบการดำเนินงานวิจัย อาจกล่าวได้ว่า ผลการออกแบบนวัตกรรมวัสดุตกแต่งผนังจากเส้นใยตาลโตนด เป็นการดำเนินงานตามกรอบงานวิจัย โดยเริ่มการดำเนินงานจากการสำรวจพื้นที่ศึกษาวิจัย การทำความเข้าใจปัญหา (Pain point) และบริบทของพื้นที่ (Empathize) เหล่านี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญแก่คนในพื้นที่ชุมชนรำแดง เมื่อประกอบกับการระบุความต้องการ (Define) ของชุมชน ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้นวัตกรรม ผู้ศึกษาวิจัยจึงสามารถทำความเข้าใจ และแก้โจทย์ปัญหาด้านการออกแบบนวัตกรรม พร้อมเสนอแนวทางแก้ไข้ปัญหา (Ideate) การสร้างแนวทางเลือก หรือทางแก้ปัญหา (Solution) อย่างสร้างสรรค์ และการพัฒนาต้นแบบ (Prototype) สู่การทดสอบความคิดตั้งต้นเพื่อนำสู่การทดสอบการใช้งานจริง (Test) อย่างไรก็ตามเพื่อให้กระบวนการทำงานดังกล่าวเกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างผู้วิจัย และชาวบ้านในชุมชนรำแดง (Participate) ผู้วิจัยจึงร่วมเรียนรู้องค์ความรู้เชิงช่าง ภูมิปัญญาเดิมในชุมชนรำแดง การถอดบทเรียนจากชุมชนในการออกแบบลวดลายผนัง การคัดเลือกวัสดุ รวมถึงการพัฒนาส่วนผสมในเส้นใยตาลโตนดโดยดำเนินการบนพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชนรำแดง สู่การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการนวัตกรรมวัสดุตกแต่งผนังจากเส้นใยตาลโตนด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลันยา อภิสทสมบัติ. (2560). สรุปความหมาย วิธีการ และความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ Design Thinking.

ได้จาก: https://medium.com/@Kolanya [สืบค้นเมื่อ วันที่ 22 มิถุนายน 2564].

นันทชัย ชูศิลป์, ชนาภัทร คุ้มภัย, ชาญณรงค์ ศรีแปลก, และ วิไล สิตพงศ์. (2556). สมบัติเชิงกลของ

ซีเมนต์เพสต์เสริมเส้นใยตาลโตนด. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 1(2), 89-99.

รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์. (2558). นิตยสารแสงอรุณ เรื่องความยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร, 19(107).

Everett M. Rogers. (1983). Diffusion of Innovation. New York: The Free Press Sherif, A.

Sabry,H. and Rakha. 2012. External Perforated Solar for Daylighting in Residential Desert Buildings: Identification of Minimun Perforation Percentages. Solar Energy Journals, 6(86), 1929-1940.

Maria Amelia Mendes. (2021). DIY - VASO ECOLÓGICO COM FIBRA DE COCO - FAÇA E

VENDA [Video]. [Online]. Retrieved from www.youtube.com/watch?v=5Ytg34mghr8 [accessed 4 May 2021].