แนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมและการศึกษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมไผ่แบบร่วมสมัย

Main Article Content

Rutchanoophan Kumsingsree

บทคัดย่อ

โครงสร้างทางสถาปัตยกรรม เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ระบบโครงสร้างไม่ใช่แค่ชิ้นส่วนหรือวัตถุที่ส่งผ่านแรงกระทำเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ในการสร้างสรรค์รูปทรงและที่ว่างทางสถาปัตยกรรมอีกด้วย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทำความเข้าใจแนวคิดโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม (2) สังเคราะห์ประเด็นสำคัญจากแนวคิดโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมสู่การศึกษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมไผ่แบบร่วมสมัย โดยใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจากหนังสือ งานวิจัย บทความ สืบค้นข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านฐานข้อมูลในระดับนานาชาติ ผลการศึกษา พบว่า แนวคิดโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับคุณสมบัติวัสดุที่ใช้ การรับแรงในโครงสร้าง ลักษณะรูปทรงโครงสร้าง และที่ว่างทางสถาปัตยกรรม ซึ่งประเด็นเหล่านี้นำไปสู่กรอบแนวคิดในการศึกษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมไผ่แบบร่วมสมัย โดยมีสาระสำคัญหรือปัจจัยที่ต้องพิจารณาดังนี้ (1) คุณสมบัติเชิงกลของไผ่ที่ใช้ก่อสร้าง (2) รูปทรงโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม (3) ประเภทชิ้นส่วนโครงสร้างและจุดรองรับแรง (4) รูปแบบการนำไผ่มาใช้โครงสร้างและระยะช่วงพาด (5) ข้อต่อและการเชื่อมต่อลำไผ่ บทความนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นให้กับผู้ที่สนใจในการศึกษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ใช้ไผ่เป็นวัสดุก่อสร้าง โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ใช้วัสดุอื่น ๆ ซึ่งเป็นช่องว่างทางการศึกษาที่ยังเปิดพื้นที่ไว้ในหลายแง่มุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิม สุจริต. (2540). วัสดุและการก่อสร้างสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลธี อิ่มอุดม. (2554). ระบบโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวลิต นิตยะ. (2544). โครงสร้างทางสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนูพรรณ คำสิงห์ศรี, และ วันดี พินิจวรสิน. (2565). ไผ่ในฐานะวัสดุก่อสร้างในงานสถาปัตยกรรม ช่วง ค.ศ.2010-2021. วารสารวิชาการการออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 9(1), 174-199.

สราวุธ สังข์แก้ว, อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์, และ กิตติศักดิ์ จินดาวงศ์. (2554). ไผ่ในเมืองไทย. กรุงเทพฯ: บ้านและสวน.

Abdelsabour, I. (2019). Investigating bio-morphism approach to enhance structure's creativity and efficiency, JEAS: Journal of Engineering and Applied Science, Faculty of Engineering, Cairo University. 66, 491-513.

Charleson, A. (2014). Structure as architecture: a source book for architects and structural engineers: Routledge.

Di Paola, F., & Mercurio, A. (2020). Design and Digital Fabrication of a Parametric Joint for Bamboo Sustainable Structures. Paper presented at the Advances in Additive Manufacturing, Modeling Systems and 3D Prototyping, Cham.

Hong, C., Li, H., Lorenzo, R., Wu, G., Corbi, I., Corbi, O., . . . Zhang, H. (2019). Review on connections for original bamboo structures. Journal of Renewable Materials, 7(8), 713-730.

Hong, C., Li, H., Xiong, Z., Lorenzo, R., Corbi, I., Corbi, O., Zhang, H. (2020). Review of connections for engineered bamboo structures. Journal of Building Engineering, 30, 101324. doi:https://doi.org/10.1016/j.jobe.2020.101324

Kaminski, S., Lawrence, A., Trujillo, D., & King, C. (2016). Structural use of bamboo: Part 2: Durability and preservation. Structural Engineer, 94, 38.

Kumsingsree, R., & Rittironk, S. (2020). Types of Architectural Structure in Bamboo Architecture (Urban Built Environment beyond the Global Pandemic: 17th International Conference of Asia Institute of Urban Environment). Journal of Asian urban environment, 71-77.

Lefevre, B., West, R., O'Reilly, P., & Taylor, D. (2019). A new method for joining bamboo culms. Engineering Structures, 190, 1-8.

Liese, W. (1985). Anatomy and properties of bamboo. Paper presented at the Proceedings of the International Bamboo Workshop.

Lopez, O. H. (2003). Bamboo: the gift of the gods: O. Hidalgo-Lopez.

Macdonald, A. J. (2001). Structure and architecture (Second Ed.): Routledge.

Macdonald, A. J. (2018). Structure and architecture (Third ed.): Routledge.

Maurina, A., & Prastyatama, B. (2017). Bamboo Architectonic: Experimental Studies Using Bundled-Bamboo-Split (BBS). International Journal on Advanced Science, Engineering and Information Technology, 7, 850. doi:10.18517/ijaseit.7.3.2131

Sandaker, B. N., Eggen, A. P., & Cruvellier, M. R. (2011). The structural basis of architecture (2nd ed.): Routledge.

Vahanvati, M. (2015). The Challenge of connecting bamboo. Paper presented at the de 10th World Bamboo Congress, Damyang.

Widyowijatnoko, A., & Harries, K. A. (2020). Joints in bamboo construction. In Nonconventional and Vernacular Construction Materials (pp. 561-596): Elsevier.

Witte, D. (2018). Contemporary Bamboo Housing in South America: Challenges & Opportunities for Building in the Informal Sector.