ซีเมนต์เส้นใยผลตาลและเส้นใยมะพร้าว เพื่อลดปริมาณความร้อนเข้าสู่อาคาร

Main Article Content

เรืองรัมภา อินทรักษ์

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาซีเมนต์เส้นใยผลตาลและเส้นใยมะพร้าว เพื่อลดปริมาณความร้อนเข้าสู่อาคาร มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเส้นใยผลตาลสุกและเส้นใยมะพร้าวที่เหลือทิ้งจากการแปรรูปมาผลิตขึ้นรูปซีเมนต์เส้นใยธรรมชาติและหาอัตราส่วนผสมระหว่างซีเมนต์กับเส้นใยผลตาลและเส้นใยมะพร้าวที่เหมาะสมสำหรับการผลิตซีเมนต์เส้นใยผลตาลและเส้นใยมะพร้าว เพื่อทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ คุณสมบัติเชิงกล และการนำความร้อนของซีเมนต์เส้นใยผลตาล และเส้นใยมะพร้าว ให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิต ASTM ที่ใช้กับงานสถาปัตยกรรม


               การวิจัยได้มีการขึ้นรูปซีเมนต์เส้นใยธรรมชาติขนาด 20 X 20 เซนติเมตร หนา 2.5 เซนติเมตร โดยมีสูตรการผสมทั้งหมด 7 สูตร โดยแต่ละสูตรเก็บตัวอย่างละ 3 ตัวอย่างและทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ คุณสมบัติเชิงกล และการนำความร้อน ผลการศึกษาพบว่า มีค่าความสามารถในการเป็นฉนวนความร้อนที่ดี โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การกันความร้อนเท่ากับ 0.2043 ± 0.0210 W/m.K มีค่าความความสามารถในการต้านทานแรงดัด 2.3780 ± 0.4488 MPa ถือว่ามีค่าเหมาะสมทั้งค่าสัมประสิทธิ์การกันความร้อนและค่าความความสามารถในการต้านทานแรงดัดที่ดี นอกจากนี้ยังมีความหนาแน่นอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีความแข็งแรงที่ดี จึงเป็นสูตรที่เหมาะสมในการนำไปใช้งานจริงเป็นวัสดุ เพื่อลดปริมาณความร้อนเข้าสู่อาคาร สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพันธ์ บุญโตสิตระกูล, กิตติพงษ์ สุวีโร และปราโมทย์ วีรานุกูล. (2562). การพัฒนาเปลือกอาคารผสมเส้นใยมะพร้าว. วารสาร

วิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 17(2), 25–35.

คฑาพล ปิ่นพัฒนพงศ์, ปิติพร มโนคุ้น, ภัทรมาศ เทียมเงิน และฐนียา รังสีสุริยะชัย. (2563). การศึกษาคุณสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่ง

จากเปลือกมะพร้าวและกากไขมันเหลือทิ้งจากมะพร้าว. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 31(4), 77–86.

จุฑามาศ ลักษณะกิจ และนันทชัย ชูศิลป์. (2562). อิทธิพลของเส้นใยธรรมชาติจากวัสดุเหลือทิ้งต่อคุณสมบัติของแผ่นฝ้าเพดานไฟ

เบอร์ซีเมนต์. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 30(4), 7–17.

จุฑารัตน์ นกแก้ว. (2564). ภูมิปัญญาท้องถิ่นตาลโตนดของไทย:การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย. วารสารห้องสมุด, 65(1), 35–

ธรรมศร เชียงทองสุข, จิระภา มาพงษ์, ธารารัตน์ แก้วสกุลณี และอำพน จรัสจรุงเกียรติ. (2564). การพัฒนาคอนกรีตบล็อกระบบ

เซลลูลาร์ด้วยส่วนผสมจากขุยมะพร้าว เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติฉนวนกันความร้อน. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา

แห่งชาติครั้งที่ 26 23-25 มิถุนายน 2564, การประชุมรูปแบบออนไลน์.

ประภาพันธุ์ พื้นนวล, พิชัย สดภิบาล และทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. (2561). การศึกษาและพัฒนาวัสดุจากเส้นใยกาบตาลเพื่อประยุกต์ใช้

ในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9(2), 1–19.

รอฮานา แวดอเลาะ, สาทินี วัฒนกิจ, ภาณุพันธ์นัดดา ดำนุ้ยราวัฒน์, ณัฐชนา นวลยัง และนนทรส ภัคมาน.. (2565). การใช้ประโยชน์

จากตาลโตนด สู่นวัตกรรมวัสดุตกแต่งผนังใยตาลโตนด. ประชุมวิชาการระดับชาติ RUTS2022. 1–13.

วิโรจน์ ไกรเทพ. (2562). สมบัติเชิงกลของซีเมนต์เพสต์เสริมเส้นใยมะพร้าวโดยใช้ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นวัสดุประสาน. วิทยานิพนธ์

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

วรรวิจิตร วิจิตรจันทร์ และชูพงษ์ ทองคำสมุทร. (2561). พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนและความชื้นผ่านวัสดุผนังที่ใช้ในอาคาร. การ

ประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 5. 1–11.

สมพงษ์ พิริยายนต์ และกิตติศักดิ์ บัวศรี. (2562). การผลิตและทดสอบสมบัติทางความร้อนและทางกลของวัสดุผสมจากน้ำยาง

ธรรมชาติและเส้นใยมะพร้าว. การประชุมวิชาการระดับชาติ IAMBEST ครั้งที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรม

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, นนทบุรี.

อนุรัตน์ ภูวานคำ. (2564). การพัฒนาวัสดุเชิงประกอบไฟเบอร์ซีเมนต์จากขยะโรงไฟฟ้าถ่านหิน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อรณิช ธนากรรฐ์ และนภดล จอกแก้ว. (2564). การศึกษาการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย. การประชุม

วิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 24.

อธินีย์ บุญที, ศุภัจฉรา ศรีมุกข์, ไพศาล เอื้อสินทรัพย์, สิริประภัสสร์ ระย้าย้อย, ศศิธร สายแก้ว และประพนธ์ เลิศลอยปัญญาชัย. (2561). อิทธิพลของเว้นใยกากมะพร้าวที่ส่งผลต่อสมบัติเชิงกลของยางธรรมชาติ. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 :มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

อุษาวดี ตันติวรานุรักษ์ และฉันทนา เล็กใจซื่อ. (2560). สมบัติเชิงความร้อนของแผ่นฉนวนความร้อนจากต้นปุด. วารสารเกษตรพระ

จอมเกล้า, 35(1), 102–108.

ASTM Committee. (2005). ASTM C20-00 Standard Test Methods for Apparent Porosity, Water Absorption, Apparent

Specific Gravity, and Bulk Density of Burned Refractory Brick and Shapes by Boiling Water. Annual Book

of ASTM Standard West Conshohochen USA.

American Society of Testing and Material [ASTM]. (2006). ASTM C1185-03 Standard test methods for sampling and

testing non-asbestos fiber-cement flat sheet, roofing and siding shingles and clapboards. Philadelphia.

American Society of Testing and Material [ASTM]. (2006). ASTM C1186-02 Standard specification for flat non-

asbestos fiber-cement sheet. Philadelphia.

Food and Agriculture Organization of the United Nations [FAO]. (2009). Natural Fibers: Coir, International Year of

Natural Fibers 2009. Retrieved June 1, 2022, from http://www.naturalfibres2009.org

Japanese Standards Association. (1992). JIS R 2618 Testing method for thermal conductivity of insulating fire bricks

by hot wire. Japanese Industrial Standard Japan.

N. D. Bheel, S. Sohu, A. A. Jhatial and N. A. Memon.. (2022). Combined effect of coconut shell and sugarcane

bagasse ashes on the workability, mechanical properties and embodied carbon of concrete.

Environmental Science and Pollution Research, 29(4), 5207-5223.

O. Azeta, A. Ayeni, O. Agboola and F. Elehinaf.. (2021). A review on the sustainable energy generation from the

pyrolysis of coconut biomass. Scientific African 13 (2021).