การสะสมหน่วยการเรียนรู้ สำหรับหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายใน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเกี่ยวกับการสะสมหน่วยการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายในของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการของนักศึกษาทั้งปัจจุบันและอนาคตในการสะสมหน่วยการเรียนรู้ โดยการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มนักศึกษาในงานแนะแนว (Open House) จำนวน 400 คน และนักศึกษาปี 1 จำนวน 41 คน ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ที่มี ค่าคะแนน 4 ระดับ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มนักศึกษาในอนาคตรู้จักและสนใจในระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้ในระดับมาก โดยเฉพาะในกลุ่มวิชาทฤษฎีพื้นฐานและวิชาปฏิบัติการด้านการออกแบบ ส่วนกลุ่มนักศึกษาปัจจุบันมีความต้องการเรียนในกลุ่มวิชาที่สนับสนุนการออกแบบและการเขียนแบบในระดับมากถึงมากที่สุด จากผลการสำรวจ สรุปได้ว่าหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายในควรเปิดกลุ่มวิชาตามลำดับดังนี้ 1. กลุ่มวิชาพื้นฐานด้านการปฏิบัติการเขียนแบบและออกแบบ เช่น พื้นฐานการออกแบบ การเขียนแบบสถาปัตยกรรมภายในเบื้องต้น การนำเสนอสำหรับงานสถาปัตยกรรมภายใน 2. กลุ่มวิชาทฤษฎีพื้นฐานที่สำคัญ เช่น แนวคิดและเกณฑ์การออกแบบสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมภายใน และสถาปัตยกรรมไทย 3. กลุ่มวิชาทฤษฎีพื้นฐานสนับสนุน เช่น จิตวิทยาการออกแบบสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอนในกลุ่มวิชาดังกล่าวจะช่วยให้หลักสูตรสถาปัตยกรรมภายในมีความทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์. (2563, 1 กันยายน). “ระบบธนาคารหน่วยกิต: ข้อเสนอเชิงนโยบายและกลไกสู่การปฏิบัติ”. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. https://backoffice.onec.go.th/uploaded2/Outstand/202009/20200908_File02.pdf.
อรุณี ตระการไพโรจน์. (2561). ระบบธนาคารสะสมผลการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตลอดชีวิตของประเทศไทย. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 13(2), 193-194.
ประอรพิต กัษฐวัฒนา. (2565, 10 มีนาคม). ธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ ก้าวแห่งความสำเร็จปฏิวัติการศึกษาไทย. สาริกา (SALIKA konwlage sharing space). https://www.salika.co/2022/03/10/academic-credit-bank-education- revolution/
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2558). ระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ หรือ ธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank System). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.https://www.dpu.ac.th/ces/upload/km/1494553177.ดร
พงษ์ภิญโญ แม้นโกศล. (2564). ผลการทดลองใช้ระบบธนาคารสะสมหน่วยการเรียนรู้ของสถาบันการอาชีวศึกษาในจังหวัดตาก. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 14(1), 15-27. https://arts.dpu.ac.th/media/research/2021082416 29769595-งานวิจัย อาจารย์ ดร.พงษ์ภิญโญ แม้นโกศล.pdf
สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2565). การประชุมครั้งที่ 3/2565. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการจัดการศึกษาระบบคลังหน่วยกิต พ.ศ. 2565. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Smritikana, G., & Ashok, K. (2024).ACADEMIC BANK OF CREDIT: A WORLDWIDE VIEWPOINT. Hunan Daxue Xuebao/Journal of Hunan University Natural Sciences, 61 (03), 29-39. https://www.researchgate.net/publication/379308629_ACADEMIC_BANK_OF_ CREDIT_A_ WORLDWIDE_VIEWPOINT
Bum Soo Lee & Moon Young Eom. (2022). The Current Status and Future Directions of Academic Credit Bank System. Researchgate. https://www.researchgate.net/publication/375239859_The_Current_Status_and_Future_Directions_of_Academic_Credit_Bank_System
National Institute for Lifelong Education. (n.d.). What is the Academic Credit Bank System. https://www.cb.or.kr/creditbank/info/nInfo7_1.do