การสำรวจลักษณะอาคารพักอาศัยรวมของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเสนอแนวทางการออกแบบที่ลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในสถานการณ์โรคติดต่อทางอากาศ

Main Article Content

ธีรภัทร์ แสงนิล
นพดล ตั้งสกุล
อธิป อุทัยวัฒนานนท์

บทคัดย่อ

      สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบันที่มีแนวโน้มจะคุกคามต่อบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย เนื่องจากมีรูปแบบอาคารพักอาศัยแบบรวมที่ไม่ได้รับการออกแบบให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ สืบเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณและพื้นที่ในการก่อสร้าง จึงนับเป็นความเสี่ยงในการทำงานประการหนึ่ง ดังนั้นเพื่อทราบถึงแนวทางในการพัฒนาอาคารพักอาศัยของบุคลากรทางการแพทย์ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและมีความปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่และสมาชิกในครอบครัวหรือผู้พักอาศัยร่วม บทความนี้จึงต้องการศึกษาการออกแบบที่พักอาศัยของบุคลากรทางการแพทย์ที่ออกแบบโดยกองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นแบบที่ใช้อย่างแพร่หลายทั่วประเทศมาเป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์ข้อจำกัดและนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาทางกายภาพเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อทางอากาศ การคัดเลือกแบบอาคารใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงโดยเน้นที่พักอาศัยแบบรวมและเป็นการอาศัยร่วมกันระหว่างบุคลากรจากหลายวิชาชีพซึ่งเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ  วิธีการศึกษาประกอบด้วยการทบทวนเอกสารด้านสุขภาวะจากข้อมูลทุติยภูมิและรวบรวมจากแบบทางสถาปัตยกรรม  รวมถึงการสำรวจพฤติกรรมการใช้พื้นที่ภายในอาคารพักอาศัย  ผลการศึกษาจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงอาคารพักอาศัยแบบรวมในปัจจุบันให้มีสุขภาวะที่ดีต่อผู้อยู่อาศัยและเป็นกรณีศึกษาเพื่อเสนอแนวทางในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาการออกแบบจากแบบมาตรฐานให้สามารถรองรับสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศได้อย่างทันสถานการณ์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตรึงใจ บูรณสมภพ. (2521). การออกแบบสถาปัตยกรรมเมืองร้อนในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สำนักนายกรัฐมนตรี.

ธีรภัทร ถนัดศิลปกุล. (2559) การออกแบบผังห้องชุดพักอาศัยที่มีช่องเปิดด้านเดียวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างสภาวะสบายจากการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2562). ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. ได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/9320200128083444.PDF [สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 มกราคม 2564].

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ. (2558). [ออนไลน์]. ได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/ ckeditor/c74d97b01eae257e44aa9d5bade97baf/files/001_1gcd.PDF [สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 มกราคม 2564].

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2563). ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. 2562. [ออนไลน์].ได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/9320200128083444.PDF [สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 มกราคม 2564].

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2563). ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. [ออนไลน์]. ได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1002020051410 2630.PDF [สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 มกราคม 2564].

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. นนทบุรี: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Centers for Disease Control and Prevention. (2012) Principles of Epidemiology in Public Health Practice, Third Edition an Introduction to Applied Epidemiology and Biostatistics, Atlanta: CDC.

Chin, W.H., Chu, T. S., Perera, R. A., Hui, P. Y., Yen, H. L., Chan, C. W., Peiris, M. and Poon, L. M. (2020). Stability of SARS-CoV-2 in different environmental conditions. Correspondence, 1(1). DOI:https://doi.org/10.1016/S2666-5247(20)30003-3

Doremalen, N. V., Morris, D. H., Holbrook, M. G., Gamble, A., Williamson, B. N., Tamin, A., Wit, E. (2020). Aerosol and Surface Stability of SARS-CoV-2 as Compared with SARS-CoV-1. The New England journal of Medicine, 382(16).

Escombe, A., Oeser, C. C., Gulman, R.H., Navincopa, M., Ticona, E., Pan, W., Martinez, C., … Evans, C.A. (2007). Natural Ventilation for the Prevention of Airborne Contagion. PLoS Medicine, 4(2), 309-317. DOI: 10. 1371/journal.pmed.0040068

Hang, J., Li, Y., Ching, W.H., Wei, J., Jin, R., Liu, L., and Xie,X. (2015). Potential airborne transmission between two isolation cubicles through a shared. Building and Environment, 89, 264-278. DOI.org/10.1016/j.buildenv.2015.03.004

Inkarojrit, V. (2010). Natural Ventilation in Thai Hospitals: A Field Study. Proceedings of the 31st AIVC International Conference. Korea, 26-28 October 2010.

Kampf, G., Todt, D., Pfaender, S., and Steinmann, E. (2020). Persistence of coronaviruses on inanimate surfaces and their inactivation with biocidal agents. Journal of Hospital Infection, 104(3), 246-251. DOI:https://doi.org/10.1016/j.jhin.2020.01.022

Li, Y., Duan, S., Yu, I. T. S., and Wong, T. W., (2004). Multi-zone modeling of probable SARS virus transmission by airflow between flats in Block E, Amoy Gardens. Indoor Air, 15(2), 96-111. DOI:10.1111/j.1600-0668.2004.00318.x

Sterling, E. M., Arundel, A. and Sterling, T. D. (1985). Criteria for Human Exposure to Humidity in Occupied Building. ASHRAE Transaction, 91(1).

World Health Organization. (2009) Natural Ventilation for Infection Control in Health-care Settings, Canberra: Biotext.

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease (COVID-19): Ventilation and air conditioning. [Online]. Retrieved from https://www.who.int/news-room/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19-ventilation-and-air-conditioning?fbclid=IwAR3 V59Qc0yT-Zowa_HK65yinBQqA8ua2eDGJqkulamIdIaf_kVhE5q-Xnw8 [accessed 13 October 2021].

Zhang, Z., Liu, S., Xiang, M., Li, S., Zhao, D., Huang, C. and Chen, S. (2020). Protecting healthcare personnel from 2019-nCoV infection risks: lessons and suggestions. Frontiers of Medicine, 14(2), 229-231. DOI.org/10.1007/s11684-020-0765-x