การพัฒนารูปแบบการจัดวางลายต่อเนื่องด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อเป็นต้นแบบในการพิมพ์บาติกด้วยมือ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

ศฤงคาร กิติวินิต
สุพร สุนทรนนท์

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดวางลายผ้าด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกของกลุ่มปาเสมัส เกิดจากปัญหาของผู้ประกอบการที่ขาดต้นแบบผ้าบาติกเพื่อแสดงให้เห็นก่อนซื้อ การสื่อสารที่ผิดพลาดส่งผลให้การผลิตผ้าไม่ตรงตามต้องการของผู้ซื้อ เกิดต้นทุนสูงจากการผลิต ผู้ประกอบการจึงต้องการสร้างแบบจำลองเพื่อเป็นต้นแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนขนาด ลวดลาย และสีสัน ได้ก่อนการผลิตจริง ผู้วิจัยจึงได้พัฒนารูปแบบการจัดวางลายต่อเนื่องด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปด้านการออกแบบกราฟิก เพื่อเป็นต้นแบบในการพิมพ์บาติกด้วยมือ มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ได้แก่ กำหนดขนาดผ้าได้หลายขนาดตามความต้องการ เก็บลวดลายแม่พิมพ์ได้จำนวนมาก จัดวางลายได้อย่างอิสระ กำหนดสีได้ตามต้องการ และสามารถสั่งพิมพ์ลงบนกระดาษหรือผ้าเพื่อตรวจสอบลวดลายและสีได้ก่อนการพิมพ์จริง โดยผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดวางลายพิมพ์ต่อเนื่องมีคุณภาพในระดับดีมาก และผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อรูปแบบการจัดวางลายต่อเนื่องระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตภัค ไม้เรียง. (2563). รูปแบบนวัตกรรมบริหารธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(2), 255-268.

นวลน้อย บุญวงษ์. (2542). หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทา โรจนอุดมศาสตร์. (2536). การทำผ้าบาติก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

นันทา โรจนอุดมศาสตร์. (2548). เทคนิคบาติกลายพิมพ์. สงขลา : ชลบุตรกราฟิค. 80 หน้า

น้ำฝน ไล่สัตรูไกล. (2559). ผ้าและงานพิมพ์ผ้าสำหรับแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย. กรุงเทพฯ:

คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล. (2560). พจนานุกรมศัพท์ศิลปะประยุกต์. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนต์ทิรา พิลาสุตา. (2563). การออกแบบลวดลายกราฟิกถุงผ้า บ้านหินสอ อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(54), 76-84.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2530). พจนานุกรมศัพท์ศิลปะอังกฤษ-ไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : บริษัทเพื่อนพิมพ์จำกัด.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). x พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

ฤธรรมรง ปลัดสงคราม. (2555). ประเภทผ้าบาติก. สืบค้น 28 เมษายน 2564. จากhttps://ruethamrong.blogspot.com/2012/01/blog-post_24.html

ศิริพรณ์ ปีเตอร์. (2549). ออกแบบกราฟิก. กรงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สรัญญา ภักดีสุวรรณ. (2553). การออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ของจังหวัดมหาสารคามในบริบทวัฒนธรรมร่วมสมัย. วารสารช่อพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 21, 17–35.

สุรเดช จองวรรณศิริ. (2562). การจัดการสู่องค์กรนวัตกรรม. สืบค้น 8 มกราคม 2564, จาก https://tinyurl.com/ycx6b9m7.