การจัดสรรงบประมาณในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม ที่มีผลต่อการขยายตัวของการก่อสร้างอาคาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การที่ภาครัฐมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม ส่งผลให้ภาคเอกชนมีการขยับตัวเพื่อตอบสนองธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากภาคเอกชนสามารถคาดการณ์แนวโน้มความต้องการอาคารประเภทต่าง ๆ จากงบประมาณที่ถูกจัดสรรลงในพื้นที่ดังกล่าว งานวิจัยนี้ทำการศึกษาสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณ จำนวนการเกิดขึ้นของอาคารแต่ละประเภท และสร้างสมการทำนายจำนวนอาคารจากการจัดสรรงบประมาณลงสู่พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม โดยการเก็บข้อมูลการจัดสรรงบประมาณใน 11 ด้านจาก 17 หน่วยงาน ตลอด 6 ปีงบประมาณ จำนวนการเกิดอาคารสิ่งก่อสร้างประเภทต่าง ๆ ใน 13 ตำบลตั้งแต่ พ.ศ. 2558 - 2563 และทำการสร้างสมการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเพื่อทำนายการเกิดขึ้นของอาคารจากงบประมาณที่ถูกจัดสรรลงใน 17 หน่วยงาน ผลการวิจัยพบว่างบประมาณของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรสูงสุด 5 อันอับแรกของแต่ละปีเมื่อรวมกันแล้วพบว่ามีสัดส่วนมากกว่า 70% ของงบประมาณรวมของทั้ง 17 หน่วยงาน และงบประมาณที่ถูกจัดสรรเป็นสัดส่วนใหญ่นั้นคืองบประมาณที่ลงสู่โครงสร้างพื้นฐาน และงบประมาณที่สนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม จำนวนการเกิดขึ้นของอาคารส่วนใหญ่จะเป็นอาคารประเภทที่พักอาศัยเป็นหลัก ส่วนอาคารที่อยู่อาศัยรวมนั้นมีแนวโน้มการเกิดลดลง ส่วนสมการทำนายจำนวนอาคารจากการจัดสรรงบประมาณสามารถสร้างสมการทำนายจำนวนอาคารได้ 3 ประเภท ได้แก่ อาคารที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และโรงแรม โดยสมการที่ได้ทั้ง 3 มีค่า R2 มากกว่า 0.93
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กชกร ธรรมกีรติ และไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2563). แนวทางการพัฒนาโครงการและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแนวสูงและแนวราบในพื้นที่รอยต่อเมืองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สาระศาสตร์, 1/2563, 171-181.
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สำนักงานคลังจังหวัดนครพนม. (2563). รายงานสภาพเศรษฐกิจการคลัง จังหวัดนครพนม ฉบับที่ 12. [ออนไลน์] ได้จาก: https://www.cgd.go.th/cs/npa/npa/94.html. [สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2564].
กฤติยา พุตติ และวนารัตน์ กรอิสรานุกูล. (2560). การคาดการณ์เปลี่ยนแปลงของปริมาณขยะมูลฝอยจากการขยายตัวของอาคารที่อยู่อาศัยในอนาคต: กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(2), 210-224.
จิรฉัตร เจริญบุญ และวิมลสิริ แสงกรด. (2564). แนวทางการควบคุมการขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทาง (urban spraw) กรณีศึกษา : เทศบาลเมืองบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 41(3), 76-90.
ชิษณุ อัมพรายน์, โยธิน มัชฌิมาดิลก และสุรพันธ์ สันติยานนท์. (2563). การหาความสัมพันธ์ของพื้นที่ถนนกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการวางผังเมืองรวมด้วยแบบจำลองต้นไม้เพื่อการติดสินใจ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25, 15 - 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563.
ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ. (2546). การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัชชัย คงสุวรรณ์ และวราเมศวร์ วิเชียรแสน. (2563). การวิเคราะห์ความหลากหลายของพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัย. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25, 15 - 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563.
พัลลภ ศักดิ์โสภณกุล. (2547). วิวัฒนาการกฎหมายวิธีการงบประมาณและการปฏิรูประบบงบประมาณของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิชย์.
ยิ่งใหญ่ สามารถ. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขยายตัวของโครงการที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภมาศ ศรีประจักษ์ และ พัฒน์ พิสิษฐเกษม. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนด้านอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 5(1), 74-92.
สมาร์ท บุญขันธ์. (2560). งบประมาณมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์. [ออนไลน์] ได้จาก: http://pws.npru.ac.th/chanokchone. [สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2564].
สำนักงบประมาณ. (2560). ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี. [ออนไลน์] ได้จาก: http://www.bb.go.th/bbweb/?page_id=6003. [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564].
สำนักยุทธศาสตร์และวางแผนพัฒนาพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559) งบประมาณเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. [ออนไลน์] ได้จาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6159. [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564].
โสภา ชินเวชกิจวานิชย์, วรวรรณ ประชาเกษม, และอาภาพร รุจิระเศรษฐ. (2561). โรงแรมสีเขียว: การริเริ่มของภาครัฐเพื่อโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. วารสารวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทย, 32(2), 61-70.
เอกวัฒน์ อะทะไชย. (2559). การวิเคราะห์สถานการณ์การลงทุนอาคารพาณิชย์ในอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย หลังจากเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 4. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.