ลักษณะของการมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบที่อยู่อาศัย กรณีศึกษา ศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้าน จ.ปทุมธานี The Feature of Participation in the Housing Design Process : A Case Study of the Rehabilitation and Development Center for the Homeless, Pathum Thani Province

Main Article Content

ศศิกาญจน์ ศรีโสภณ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาขั้นตอนและกระบวนการออกแบบศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาคนไร้บ้าน จังหวัดปทุมธานี  2) ศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบที่อยู่อาศัยของคนไร้บ้าน มีวิธีการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและเชิงคุณภาพ โดยมีการเก็บข้อมูลผ่านการมีส่วนร่วมในการออกแบบ ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสังเกตและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง  ผลจากการศึกษาพบว่ากระบวนการออกแบบมีการดำเนินไปพร้อมกับการการสร้างกระบวนการรวมกลุ่มคนไร้บ้าน นับเป็นอุปสรรคต่อการทำงานมีส่วนร่วมและการสร้างระดับการมีส่วนร่วมที่มากขึ้นของคนไร้บ้าน นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของคนไร้บ้านในกระบวนการออกแบบนี้มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ โดยกระบวนการออกแบบนับเป็นกลไกสำคัญที่สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม รวมทั้งเกิดการสร้างเครือข่ายชุมชนและเครือข่ายทางสังคมกับองค์กรภายนอก อันมีผลต่อการสร้างความเข้มแข็งและสร้างโอกาสให้คนไร้บ้านมีชีวิตที่ดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2555). การวิเคราะห์หลัก “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ใน “The
Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement” ในบริบทประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 8(1), 123-141.
ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย. (2549). เครือข่ายทางสังคม. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นพมาศ อุ้งพระ (ธีรเวคิน). (2553). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาธรรมศาสตร์.
ปาริชาติ วลัยเสถียรและคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของ
นักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ผู้แต่ง. (2563). บ้านทางผ่าน. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและ
การก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2(1), 25–35.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน). (2547). เอกสารประกอบการสัมมนา
โครงการวิจัยและปฏิบัติการพัฒนาชุมชนแออัดและองค์กรชุมชนแออัดในเมือง. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน)
อนัตต์ ลัคนหทัย. (2546). “การพัฒนาชุมชนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Community
Development)” เอกสารในโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. เชียงราย. สถาบันราชภัฏเชียงราย.
Rutenfrans-Stupar, M., Van Der Plas, B., Den Haan, R., Van Regenmortel, T.,
& Schalk, R. (2019). How is participation related to well-being of
homeless people? An explorative qualitative study in a Dutch homeless shelter facility. Journal of Social Distress and the Homeless. 28(1), 44-55.
Hussain, S., Sanders, E. B.-N., & Steinert, M. (2012). Participatory design with
marginalized people in developing countries: Challenges and
opportunities experienced in a field study in Cambodia.
International Journal of Design. 6(2), 91-109.