การพัฒนาพื้นที่สีเขียวชนบทเพื่อความยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาพื้นที่สีเขียวชนบทเพื่อความยั่งยืน มีวัตถุประสงค์คือ (1) การศึกษาลักษณะทางกายภาพพื้นที่สีเขียวชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) การศึกษาทฤษฎีและแนวคิดการออกแบบพัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อความยั่งยืน (3) แนวคิดและแนวทางการพัฒนาทางกายภาพพื้นที่สีเขียวชนบทเพื่อความยั่งยืน โดยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและกรณีศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบพื้นที่สีเขียวยั่งยืน นำมาวิเคราะห์ ลักษณะทางกายภาพ แนวคิด เป้าหมายและผลที่เกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่า พื้นที่สีเขียวชนบทที่สำคัญ คือ พื้นที่สีเขียวธรรมชาติ และพื้นที่สีเขียวเพื่อเศรษฐกิจ มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ แต่ไม่ตอบสนองบทบาทและหน้าที่ของพื้นที่สีเขียวอักทั้งยังสร้างผลกระทบด้านลบต่อสภาพแวดล้อมสวนทางกับแนวคิดพื้นที่สีเขียวยั่งยืน
แนวคิดแนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียวชนบท คือ (1) ในระดับ Macroscale ภายใต้แนวคิดนิเวศวิทยาภูมิทัศน์และการจัดการแบบองค์รวม การพัฒนาพื้นที่ให้สัมพันธ์กับอัตลักษณ์พื้นที่สูง ที่ราบ และที่ราบลุ่มน้ำ การใช้พื้นที่สีเขียวริ้วยาวของแม่น้ำโขง ชี และแม่น้ำมูล ในการเชื่อมโยงระบบนิเวศทั่วทั้งภูมิภาค เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวธรรมชาติ พื้นที่สีเขียวเศรษฐกิจ ฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศลุ่มน้ำ รักษาระดับน้ำ คุณภาพของลุ่มน้ำ ที่ได้รับผลกระทบจากพื้นที่สีเขียวเพื่อเศรษฐกิจ (2) การพัฒนาในระดับ Microscale เช่น การเพิ่มสวนป่า เกษตรป่าไม้ วนเกษตรเกษตรพื้นที่เกษตรที่ราบสูง สร้างความหลากหลายของรูปแบบเกษตรกรรมและพืชเกษตรเพิ่มแปลงปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่เกษตรที่ราบต่ำ และพื้นที่เกษตรริมน้ำให้เว้นระยะห่างจากแม่น้ำและปลูกพืชชายน้ำ ไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น รักษาระบบนิเวศ ลดความแรงของน้ำ ลดการพังลาย ดักจับตะกอนและสารเคมีจากการเกษตร การใช้พืชเกษตรหลากหลาย ทนต่อน้ำท่วมขัง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน (พชช.). (2562). รายงานหมู่บ้าน
ชนบทไทยจากการสำรวจหมู่บ้านในชนบทของไทย. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท บีทีเอสเพรส จำกัด.
พระราชบัญญัติการผังเมือง. กฎกระทรวง ฉบับที่ 396 (พ.ศ. 2542).
ไพฑูรย์เครือแก้ว. (2506). ลักษณะสังคมไทยและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เกื้อกูล.
สมยศ ทุ่งหว้า. (2534). สังคมชนบทกับการพัฒนา. สงขลา: ภาควิชาพัฒนาการเกษตรและ
ทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2523). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2557). แนวทางการขับเคลื่อนการ
จัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
Claudia Dinep and Kristin Schwab. (2010). Sustainable site design. Published by
John Wiley & Son, Inc, New Jersey.
Frumkin, H, (2013). The evidence of nature and the nature and evidence of
American. Jurnal of Preventive medicine.
Margaritis, E., and Kang, J.,(2016). Relationship between green space-related
morphology and noise pollution. Ecol. Indic. 72, 921–933. doi:
1016/j.ecolind.2016.09.032.
Peter G. Rowe and Limin Hee, (2019). A City in Blue and Green. The Singapore Story.
Springer Open. www.dbook.org.
Waters, Jerry B. (1973). Scope and National Concoms. In Larry R. Writing (Edl).
Rural Development: Research Priorities Ames. Iowa State University Press.
Wenche Dramstad, James D. Olson, and Richard T.T. Forman. (1996). Landscape
Ecology Principles In Landscape Architecture And Land-Use Planning. Published by Harvard University Graduate school design.
World Bank (1975) World Bank. 1975. Rural Development: Sector Policy Paper.
New York, Washington D.C.
World Health Organization. 2017. Urban green spaces: a brief for action.
World Health. Organization Regional Office for Europe UN City,Copenhagen,
Denmark.
ออนไลน์
กรมป่าไม้. (2563). ข้อมูลสารสนเทศกรมป่าไม้ สถิติกรมป่าไม้. [ออนไลน์]. ได้จาก:
http://forestinfo.forest.go.th/Content/file/stat2563/Binder.pdf. [สืบค้นเมื่อ วันที่
กรกฎาคม 2564].
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2564). กรอบแนวคิดการพัฒนาเมืองและชนบท: “RUUR Models"
[ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/122983.
[สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564].
มิตรเอิร์ธ. (2564). ภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [ออนไลน์]. ได้จาก:
https://www.facebook.com/search/top?q=มิตรเอิร์ธ%20-%20mitrearth.
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 18 กรกฎาคม 2564].
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สานักนายกรัฐมนตรี. (2558).
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564). [ออนไลน์]. ได้จาก:
https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25
กรกฎาคม 2565].
Multistate Research Found IMPACTS NE-1962 (2012-2017). THE BENEFITS OF
OUTDOOR RECREATION & GREEN SPACES. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://docs.
wixstatic.com/ugd/d070cb_9c90481e2c534695891cb052e6141504.pdf. [สืบค้น
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564].
SER Society for Ecological Restoration. (2021). USA: Florida: Kissimmee River
Restoration Project. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.ser-rrc.org/project/usa-
florida-kissimmee-river-restoration-project/.[สืบค้นเมื่อ วันที่ 16 กรกฎาคม 2564].