ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับความเครียดของนักศึกษาปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Main Article Content

พิชญาภา ธัมมิกะกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมกับความเครียดของนักศึกษาปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อทราบถึงระดับความเครียด ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียด และวิธีคลายเครียดของนักศึกษาปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2) เพื่อหาข้อสรุปในการออกแบบปรับปรุงพื้นที่และจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการลดความเครียดของนักศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาปริญญาตรีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีทั้งหมด 411 คน ใช้สูตรคำนวณหากลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา มุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมที่มีผลเชิงบวกกับความเครียดของนักศึกษาปริญญาตรี พบว่าสภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งในปัจจัยภายนอกที่สามารถส่งผลต่อความเครียดได้ทั้งในเชิงลบและเชิงบวก และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้วิธีการหาความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ได้แก่ แบบประเมินความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test, SPST-20) แบบสอบถามการใช้พื้นที่ในคณะเพื่อคลายเครียด และการสำรวจพื้นที่สนับสนุนภายในคณะที่รองรับความเครียด และความต้องการของนักศึกษา โดยการใช้แบบสำรวจการใช้พื้นที่ความพึงพอใจที่มีต่อพื้นที่สาธารณะโดยวิธีการประมาณค่า ( Rating Scale) แบบ Likert's Scale ชุดคำถามอ้างอิงจากหลักเกณฑ์และปัจจัยสู่ความสำเร็จ Project for Public Space


ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีความเครียดอยู่ในระดับความเครียดรุนแรงถึงร้อยละ 46 จำเป็นต้องได้รับการดูแลและให้ความช่วยเหลือ นอกจากนี้นักศึกษาเห็นด้วยที่สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยภายนอกที่สัมพันธ์กับความเครียด และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมพื้นที่ส่วนกลางของคณะ (กายภาพ) จะช่วยรองรับความเครียดของนักศึกษาได้ จึงนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลางให้ตรงตามความต้องการและเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ รองรับความเครียดให้กับนักศึกษาต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือคลายเครียดด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร :
องค์กรสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก.
วิศิษฐ์ วัชรเทวินทร์กุล. (2545). ความเครียด ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและวิธีขจัด
ความเครียดของนักศึกษาสถาบันราชภัฏนครปฐม. สถาบันราชภัฏนครปฐม.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2542). ตัวแปรที่เกี่ยวกับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล
บำรุงราษฎร์เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาการศึกษา
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์.
Cigna Asia Care. (2019). Chronic Stress: Are we reachind Health System Burn Out?.
Cigna Care Group.
Lazarus S.and Folkman S. (1984). Stress, Appraisal and Coping. New York: Spring Publishing.
Luckmann J. and Sorensens K. (1987). Stress: Encyclopedia and Dictionary of
Medicine and Nursing. New ersey: Prentice.
Rice P. (1999).Stress and Health 3rd ed. Moorhead State University California:
Brook/Cole Publishing.
Selye H. (1956). The Stress of Life. New York: McGraw Hill.