โครงการการศึกษาปัจจัยในกระบวนการปรับปรุงอาคารเก่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับอาคารเก่าที่เป็นลักษณะอาคารประเภทบ้านแถวหรือตึกแถว ผ่านแนวทางทฤษฎีและกระบวนการปรับปรุงอาคาร แสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบโครงสร้างหลักอาคาร ผนังภายใน ผนังภายนอก และบันไดมีผลอย่างชัดเจนต่อการใช้งานตึกแถว ทั้งนี้การดำเนินการวิจัยยังคงมีข้อจำกัดและขอบเขตที่ยังไม่สามารถศึกษาไปถึง คือประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านการก่อสร้าง กฎหมาย อาคารและผังเมือง เศรษฐกิจและสังคม และวัฒนธรรมการอยู่อาศัยในอาคารลักษณะที่เป็นบ้านแถวหรือตึกแถว ยังคงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องสืบค้นและวิจัยเพื่อหาคำตอบให้กับการแก้ไขปัญหาอาคารลักษณะนี้ได้อย่างเป็นองค์รวมต่อไป
การวิจัยที่มีข้อที่ทำการศึกษาผ่านกระบวนการปรับปรุงออกแบบโดยมี 3 หัวข้อหลักคือ หัวข้อแรกเป็นการพัฒนาด้านเทคนิคโครงสร้างอาคาร หรือการออกแบบ “โครงสร้างรองรับ” (Supports) และ “ส่วนประกอบติดตั้ง” (Infill) โดยเน้นที่การออกแบบรูปแบบ “โครงสร้างรองรับ” สำหรับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นภายในตึกแถว และการพัฒนาโครงสร้างและวัสดุก่อสร้างสำเร็จรูปที่ติดตั้งได้ง่ายโดยผู้อยู่อาศัยเองหรือผู้ที่มีทักษะทางช่าง ทั้งนี้การวิจัยความเป็นไปได้ทางการตลาดและความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมการก่อสร้างและการออกแบบจำเป็นต้องมีการศึกษาร่วมกัน
หัวข้อที่สอง ศึกษาการใช้ประเภทอาคารในเชิงลึกมากขึ้น ทั้งการใช้พื้นที่ ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ โครงสร้างอาคารต่าง ๆ ที่มีผลต่อการปรับปรุงอาคาร และรูปแบบที่เอื้อให้เกิดการแสดงตัวตนและสอดคล้องกับภาพรวมของสิ่งแวดล้อมภายใน ได้แก่ แสงธรรมชาติและการระบายอากาศ และภายนอกอาคาร ได้แก่ สิ่งแวดล้อมและเมือง เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลการออกแบบ “โครงสร้างรองรับ” และ “ส่วนประกอบติดตั้ง” ให้รองรับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงได้มากขึ้น พร้อมกับยกระดับศักยภาพอาคารให้ส่งเสริมคุณภาพการอยู่อาศัยในเมืองและมีอายุการใช้งานอาคารนานขึ้น
หัวข้อที่สาม การศึกษาแนวการปฏิบัติวิชาชีพของผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมก่อสร้าง : สถาปนิก วิศวกร นักผังเมือง นักกฎหมาย นักพัฒนาที่ดิน ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ถือครองที่ดินทั้งรัฐและเอกชน ให้เกิดความชัดเจนในบทบาทและผลกระทบจากการออกแบบ การใช้วัสดุ และระบบการก่อสร้างที่ใช้และส่งผลกับผู้บริโภคภายหลังเข้าอยู่อาศัย เพื่อวางพื้นฐานความเข้าใจการใช้งาน ของผู้อยู่อาศัยและเอื้อประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการมีสิทธิ์จัดการอาคารได้ภายหลัง รวมทั้งเป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างยังยืนต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
ฉันทวรางค์, เพ็ญศรี, แนวทางการเปลี่ยนแปลงของตึกแถวในกรุงเทพมหานครฯ กรุงเทพมหานครฯ 2529
วิทยานิพนธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภิรมย์, สมภพ. ศาสตราจารย์ นาวาเอก. “ตึกแถว – มะเร็งร้าย”. ปัญหาตึกแถว. สัมมนาวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์สารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13-14 ตุลาคม 2524
สุชา. (2524), ตึกแถวและการออกแบบผังเมือง. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทิพทัส, ผุสดี. (2540), พัฒนาการในรอบสองร้อยปี. ใน จุลาสัย บ.(บรรณาธิการ). บ้านไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
ทิพทัส, ผุสดี. (2545), บ้านในรัตนโกสินทร์ 1: รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกถึงรัชสมัย
GUZOWSKI, Mary. (2000). Daylighting for sustainable design. New York: McGraw-Hill.
HABRAKEN, John N. (1998). The structure of the ordinary: form and control in the build environment. Cambridge, MA: The MIT Press. (7).
HABRAKEN, John. N. "Type as a Social Agreement" The Biannual Asian Congress of Architects: Seoul, 1988.