การรับรู้คุณค่าศิลปวัฒนธรรมแม่แจ่มของนักศึกษาสถาปัตยกรรมภายในผ่านประสบการณ์การออกแบบนิทรรศการศูนย์หัตถกรรมผ้าตีนจกบ้านท้องฝาย The Perceived Mae Chaem Cultural Value of Interior Architecture Students through the Experience by Teen Jok Handicraft Center, Tong Fai Village Exhibition Design
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าศิลปวัฒธรรมแม่แจ่มของนักศึกษาผ่านประสบการณ์การออกแบบนิทรรศการศูนย์หัตถกรรมผ้าตีนจกบ้านท้องฝาย โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสถาปัตยกรรมภายใน ชั้นปี 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จำนวน 33 คน และภาคีเครือข่ายบ้านท้องฝายจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามปลายปิดและแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณนาและวิเคราะห์การสัมภาษณ์การรับรู้คุณค่า ผลการดำเนินงานพบว่า ภาคีเครือข่ายในชุมชนท้องฝายให้ความคิดเห็นการรับรู้คุณค่าศิลปวัฒนธรรมแม่แจ่มของนักศึกษาฯ 4 ด้านตามลำดับ 1) เรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนในชุมชน 2) เรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา 3) เรื่องราวเกี่ยวกับ ประเพณี วัฒนธรรม 4) ด้านประวัติศาสตร์ โดยผลเฉลี่ยความคิดเห็นรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 4.28 ผลสัมภาษณ์นักศึกษาฯ พบว่า การรับรู้คุณค่าแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การรับรู้ในมิติเดียว ระยะที่ 2 การรับรู้หลากหลายมิติ และระยะที่ 3 การรับรู้สู่การประยุกต์
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
เชียงใหม่นิวส์. (2559). แม่แจ่ม…วิถีชีวิตในอ้อมกอดของขุนเขา. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/478436/. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 5 สิงหาคม 2564].
ธงชัย ภูวนาถวิจิตร. (2560). การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมและการจัดการแหล่งท่องเที่ยว ในรูปแบบหมู่บ้านวัฒนธรรมเวียงท่ากาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, ปีที่ 5(1): 14-23.
ปณพัชร์ กิติชัยวัฒน์. (2561). ประสบการณ์ การรับรู้คุณค่า ทัศนคติและการซื้อซํ้าของผู้บริโภค GROCERANTS จังหวัดกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา GOURMET MARKET. [ออนไลน์]. ได้จาก:http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6002115134_10075_10124.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 กรกฎาคม 2564].
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2558). เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาการเรียนการสอน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning: PBL) มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 5 สิงหาคม 2564].
มารยาท โยทองยศ และ ปราณี สวัสดิสรรพ์. (2556). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการ
วิจัย. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.fsh.mi.th/km/wp-
content/uploads/2014/04/resch.pdf. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 5 สิงหาคม 2564].
เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). Active Learning กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. การเสวนาทางวิชาการ “วันส่งเสริมวิชาการสู่คุณภาพการเรียนการสอน” ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา, 30 กรกฎาคม 2557.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. (2559). ประวัติความเป็นมา. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://district.cdd.go.th/maechaem. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 13 พฤษภาคม 2564].
องค์การบริหารส่วนตำบลช่างเคิ่ง. (2562). บ้านท้องฝาย. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://changkerng.go.th/index.php?_mod=dHJhdmVs&no=NQ. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 5 สิงหาคม 2564].
Bonwell, C, C. & Eison, J, A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. Washington DC: School of Education and Human Development the George Washington University.
Holbrook, M. B. (1999). Introduction to consumer value. Consumer value: A framework for analysis and research, 1-28.