การพัฒนาระบบบริหารจัดการรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.5)สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

วรารินทร์ ปัญญาวงษ์

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ส่งผลให้เกิดการปฏิรูป การศึกษาในทุกระดับ โดยเน้นในด้านการปรับปรุงหลักสูตรและ ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทยมีการยกระดับสถาบันการ ศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย และให้อิสระในการดําเนินการในด้าน การจัดการศึกษามากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลดีคือ ทําให้สถาบันอุดมศึกษามีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความ ต้องการด้านการศึกษาของประชาชนและการพัฒนาของ ประเทศ โดยมีการให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาอย่างมี คุณภาพและบัณฑิต ที่สําเร็จการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐาน ต่อมาประกาศของกระทรวงศึกษาธิการได้กําหนด เรื่องกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) พ.ศ. 2552 โดยให้จัดทํามาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบัน อุดมศึกษานําไปจัดทําหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและ จัดการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คุณภาพของบัณฑิต ในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้ เคียงกัน ด้วยเหตุนี้สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกํากับและส่งเสริมการดําเนินการของ สถาบันอุดมศึกษาจึงได้ดําเนินการจัดทํากรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย (Thai Qualifications Framework for Higher Education - TQF : HEd) เพื่อนํา นโยบายที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเกี่ยวกับ มาตรฐานการอุดมศึกษาไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม (สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ, 2552)

Article Details

บท
บทความวิจัย