เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนของอาคาร: แนวคิดและการใช้งาน

Main Article Content

สุลาวัลย์ ทันใจชน

บทคัดย่อ

นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 ได้ปรากฏระบบประเมินแรกขึ้น เพื่อความยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมอาคารซึ่งมีการบริโภคพลังงาน วัสดุและทรัพยากรเป็นจำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องมีแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนผ่านเกณฑ์การประเมินอาคาร ในปัจจุบันเกณฑ์การประเมินถูกพัฒนาขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาที่ต้องเผชิญกับการพัฒนาในหลายๆด้าน ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมาก จึงเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนของอาคาร ในช่วงแรกของการก่อตั้งเกณฑ์การประเมินสิ่งแวดล้อมของอาคาร ทุกฝ่ายจะให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และในเรื่องของการเป็น “สีเขียว” เป็นหลักทั้งแนวคิดการสร้างวิธีการประเมิน และผลการประเมิน ในการประเมินอาคารเขียวจะเป็นแนวคิดที่อ้างถึงการออกแบบที่ประหยัดพลังงาน การบำบัดของเสีย และการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในเวลาต่อมาการใช้แนวคิดอาคารเขียวมีมูลค่าทางการตลาดสูงขึ้น จึงได้มีการพัฒนา มีการบูรณาการ และประยุกต์เอาแนวคิดเรื่องความยั่งยืนมาเป็นส่วนประกอบในเกณฑ์การประเมินอาคารมากขึ้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนถึงแนวคิด ตัวชี้วัด ข้อกำหนด และลักษณะการใช้งานเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนของอาคารที่มีอยู่ รวมถึงบทบาทของเกณฑ์ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาเกณฑ์การประเมินอาคารทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลายพบว่า แนวคิดของการออกแบบเกณฑ์การประเมิน มาจากปัจจัยสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก เพื่อความยั่งยืนเป็นอันดับที่สอง การปรับปรุงภาคอุตสาหกรรมอาคารเป็นอันดับที่สาม และอันดับที่สี่ความต้องการพัฒนาเกณฑ์การประเมินขึ้นตามประเทศที่ได้มีการใช้อยู่ก่อนแล้ว ในด้านบทบาทการใช้งานในปัจจุบัน พบว่าปัญหาของการใช้งาน คือ ต้นทุน/ค่าใช้จ่าย ที่ส่งผลอย่างมากในการสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมการประเมิน และปัจจัยที่สอง คือ ตัวชี้วัดที่ยังไม่ครอบคลุมประเด็นปัญหาในด้านของสังคม และวัฒนธรรม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุลาวัลย์ ทันใจชน, คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม

คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย

References

กชกร อาจน้อย, ปิยนุช เวทย์วิวรณ์. (2557). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาอาคารเขียว: กรณีศึกษาอาคารเขียวในประเทศไทย. วิศวกรรมสาร มก: ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, (90), 33-46.
จักรกฤษณ์ เหลืองเจริญรัตน์, สิงห์ อินทรชูโต. (2556). เกณฑ์ประเมินอาคารที่ยั่งยืน: ความเหมือน ความต่าง และค่าความสำคัญที่ให้ต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และพลังงาน. คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พันธุดา พุฒิไพโรจน์. (2557). การออกแบบและก่อสร้างอาคารเขียว ตามเกณฑ์มาตรฐาน LEED. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สถาบันอาคารเขียวไทย. (2555). คู่มือสำหรับเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานทางสิ่งแวดล้อมไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันอาคารเขียวไทย.
อาคารสีเขียว กับคำตอบเพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม. (2553). วารสารสื่อพลัง, (8), 4-9.
Abu Dhabi Urban Planning Council. (2010). The Pearl Rating System for Estidama Emirate of Abu Dhabi. Pearl Building Rating System: Design & Construction, Version 1.0.
BEAM Society Limited. (2019). BEAM Plus New Buildings, Version 2.0.
BRE Global Ltd. (2016). BREEAM International New Construction. Technical Manual. Document reference: SD233, (2).
Building and Construction Authority. (2012). The BCA Green Mark Certification Standard for New Buildings ,Version 4.1.
CIB General Secretariat. (1999). Agenda 21 on sustainable construction. [Online]. Retrieved from www.cibworld.nl.
Green Building Council Indonesia. (2012). GREENSHIP New Building, Version 1.1.
M A Marhani, M A S Muksain. (2018). GBI assessment checklist: Level of awareness of the contractors in the Malaysian construction industry, IOP Conference Series: Earth and Environmental Science.
Raymond J Cole, Nils Larsson. (2002). GBTool User Manual, Green Building Challenge .
United Nations Settlements Programme (UN-Habitat). (2017). Building Sustainability Assessment and Benchmarking – An Introduction. [Online]. Retrieved from www.unhabitat.org.