แนวทางการประยุกต์ศิลปะภาพแกะหนังตะลุง เพื่อออกแบบเครื่องประดับถมนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาข้อมูลเครื่องประดับถมนคร และศิลปะภาพแกะหนังตะลุง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการออกแบบเครื่องประดับถมนคร วิธีดำเนินการวิจัย แบงเป็น 2 ขั้นตอนหลัก คือ ข้อมูลหัตถศิลป์ทั้ง 2 ประเภท จากผู้ผลิต ประเภทละ 3 คน โดยการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต สัมภาษณ์ และบันทึกภาพ สรุปได้ดังนี้ ข้อมูลเครื่องประดับถมนคร ลวดลายศิลปะภาพแกะหนังตะลุง และ การประยุกต์ศิลปะภาพแกะหนังตะลุง หลังจากนั้นประยุกต์ใช้ลวดลายที่ได้จากการศึกษา นำมาออกแบบเครื่องประดับถมนครเป็นแบบร่างแนวความคิดเบื้องต้น 3 แนวทาง คือ หรูหรา ตลก และ ความหลากหลาย โดยนำแต่ละแนวทางมาออกแบบร่างเป็น 3 ชุดเซ็ท พร้อมกับสร้างผลิตภัณฑ์ทดลอง เพื่อทดลองรูปทรง การใช้งาน และความงาม ประกอบการพิจารณาคัดเลือกเหลือ 1 ชุดเซ็ท โดยขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาต้นแบบ ได้ผลงานชุดเครื่องประดับถมเงินนคร ประกอบด้วย กําไล จี้ ต่างหู แหวน แบ่งเป็น 2 ด้าน 2 อารมณ์ความรู้สึก มีแรงบันดาลใจมาจาก 1) ลวดลายและสีสันของเครื่องแต่งกายตัวพระตัวนาง ใช้กระจกสีเป็นวัสดุประดับตกแต่ง สื่อถึงความหรูหรา 2) ลวดลายสีสันโค้งงอของทรงผมตัวตลกใช้ถมสีดํา สื่อถึงความตลก สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบในการใช้งาน โดยการบิด หมุน เพื่อปรับเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกและโอกาสในการสวมใส่ ให้เป็นความหรูหราหรืออารมณ์ดี บ่งบอกถึงภูมิปัญญาหัตถศิลป์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชได้เป็นอย่างดี
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
แน่งน้อย ปัญจพรรค์. (2534). เครื่องเงินในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เริงรมย์.
ประเสริฐ ศีลรัตนา. (2538). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ประเวศ วะสี. (2536). การศึกษาชาติกับภูมิปัญญาท้องถิ่น: ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.
ยงยุทธิ์ ผันแปรจิตร์. (2554). การศึกษาและพัฒนาเครื่องถมจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อการออกแบบเครื่องประดับที่ทำจากโลหะผสม. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เรวัต สุขสิกาญจน์ และคณะ. (2552). รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม
หนังตะลุงโดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ชุมชนสร้างสรรค์หัตถกรรม
ภาพแกะหนังตะลุง ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
วรรณรัตน์ อินทร์อ่ำ. (2536). ศิลปะเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2535). ศิลปหัตถกรรมของช่างทองเมืองเพชร: ความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ.
----------. (2545). การออกแบบเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
----------. (2553). รายงานการวิจัย ศิลปหัตถกรรม เครื่องเงินเมืองนครศรีธรรมราช เครื่องเงิน
เมืองสุรินทร์ และเครื่องเงินเมืองเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2544). แผนวัฒนธรรมแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ฉบับที่ 9. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
อ้อยทิพย์ พลศรี. (2545). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เอมอร วิศุภกาญจน์. (2542). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.