แผ่นพื้นทางเท้าจากขยะถุงพลาสติก

Main Article Content

วสิทฐ์เทวา เจียมแสงนิล
ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาวัสดุแผ่นพื้นประยุกต์ใช้ส่วนผสมจากขยะถุงพลาสติกเพื่อลดปัญหาขยะถุงพลาสติกเพื่อใช้เป็นแผ่นพื้นทางเท้าภายนอก และเปรียบเทียบอุณหภูมิ ความชื้นพื้นผิวของวัสดุ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นการผลิตแผ่นพื้นทางเท้าที่สามารถทำเองได้ง่ายด้วยข้อจำกัดทางด้านอุปกรณ์เครื่องมือในการผลิต จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่ามีแนวทางในการนำขยะพลาสติกเหลือใช้มาผสมได้หลากหลายแนวทาง โดยได้เริ่มศึกษาการขึ้นรูปละลายขยะถุงพลาสติกโดยใช้ความร้อนผสมกับทรายให้ส่วนผสมเข้ากัน จากนั้นเทลงแม่แบบขึ้นรูป ใช้ถุงขยะพลาสติก จำนวน 300 ถุง และ150 ถุง/1 แผ่น พบว่าสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และแนวทางต่อไปในการขึ้นรูปโดยใช้ขยะถุงพลาสติกช้อนทับกันเป็นชั้นภายในชั้นกลางของแผ่นพื้น และมีคอนกรีตปิดทับโดยรอบจากการทดลองได้ใช้ถุงขยะพลาสติก 75 ถุง/แผ่น พบว่าสามารถแก้ปัญหาขยะถุงพลาสติกที่ลอยออกมาที่ผิวของแผ่นพื้นทางเท้าได้เช่นกัน  จากการทดลองเปรียบเทียบอุณหภูมิของแผ่นพื้นพบว่าในช่วงเวลากลางคืนมีอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกันทุกแผ่นในขณะที่ช่วงเวลากลางวัน แผ่นพื้นทางเท้าที่มีส่วนผสมของพลาสติกภายในชั้นกลางของแผ่นพื้นทางเท้านั้นมีอุณหภูมิต่ำที่สุด ช่วงเวลาเดียวกันแผ่นพื้นทางเท้าที่มีส่วนผสมของการละลายถุงพลาสติกผ่านความร้อนผสมกับทรายนั้นมีอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ส่วนการเปรียบเทียบความชื้นพบว่าแผ่นพื้นทางเท้า ที่มีส่วนผสมของถุงพลาสติกภายในชั้นกลางของแผ่นพื้นนั้นมีความชื้นสูงที่สุด ทั้งเวลากลางวัน และกลางคืน ในเวลากลางวันแผ่นพื้นทางเท้า ที่มีส่วนผสมของการละลายถุงพลาสติกผสมกับทรายนั้นมีความชื้นต่ำที่สุดในเวลากลางวัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). รายงานสถานการณ์ มลพิษของประเทศไทยปี 2561. กรุงเทพฯ: 2562
กรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). ยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านการลดและนำของเสียมาใช้ประโยชน์ (Reduce Reuse Recycle: 3R). กรุงเทพฯ: 2560
กรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2552). คู่มือแนวทางการลดและข้อกำหนดเบื้องต้นการลดและใช้ประโยชน์ยะมูลฝอย. กรุงเทพฯ: 2552
รัตนสุดา ชลธาตุ. (2558). การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแนวทางการแก้ไขปัญหา. วารสาร สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 18 ฉบับเดือนมกราคม-ธันวาคม 2558. หน้า 416-431.
ศุลีพร แสงกระจ่าง และคณะ. (2556). ผลกระทบของพลาสติกต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการของสมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย. 2556 : 28(1). หน้า 39-50
Kumi-Larbi, A., Yunana, D., Kamsouloum, P., Webster, M., Wilson, DC. and Cheeseman, C. (2018). Recycling Waste Plastics in Developing Countries: Use of low-density Polyethylene Water Sachets to Form Plastic Bonded Sand Blocks. Waste Management. Vol.80. pp.112-118.