ตัวชี้วัดของความพึงพอใจในการใช้บริการ Co-working space ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Pornraht Pongprasert

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่การศึกษาตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการใช้พื้นที่ทำงานร่วมกันของนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร เพื่อสามารถแนะนำผู้ประกอบการสำหรับการพัฒนาธุรกิจพื้นที่ทำงานร่วมกันให้ตอบสนองกับความต้องการของคนกลุ่มนี้ที่มีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งธุรกิจนี้เติบโตเพิ่มขึ้นทุกปีประมาณ 29 โครงการต่อปี และภายหลังวิกฤติโควิด-19 มีการคาดการณ์ว่าพื้นที่ทำงานร่วมกัน (Co-working space) จะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากทั้งพนักงานออฟฟิศ นักเรียน นักศึกษา เจ้าของกิจการ จะมีรูปแบบพฤติกรรมในการทำงานและการเรียนที่เปลี่ยนไป ระบบการเรียนแบบไฮบริด (ออนไลน์และห้องเรียน) จะถูกนำมาใช้มากขึ้นในมหาวิทยาลัย อยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานและเรียนได้ งานวิจัยนี้ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้บริการ co-working space แล้วทั้งหมด 436 คน และนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาลักษณะด้านประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการใช้ Co-working space และการให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาด (7Ps) และทำการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ Co-working space ผลการวิจัย พบว่า การออกแบบพื้นที่บริการให้หลากหลาย การตั้งราคาให้เหมาะสม การประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจและใช้ช่องทางสื่อสารที่เหมาะสม การเพิ่มอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยใน Co-working space มีผลต่อการเพิ่มความพึงพอใจในการใช้ co-working space ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จีราวัฒน์ คงแก้ว. (2561). Co–working space ธุรกิจ เซ็กซี่? ยุค Startup ฟีเวอร์. [ออนไลน์]. ได้จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/713507. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน 2564].
มนัสภร สีเมฆ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสถานที่ที่ใช้พื้นที่การทำงานร่วมกัน (Co-working space) ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปวันรัตน์ อิ่มเจริญกุล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเข้ารับบริการสถานที่ให้บริการพื้นที่ทำงาน Co-working space ในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภัทร์ฐิตา ทุมเกิด (2564). วิเคราะห์หลังโควิด-19 ทุกอย่างจะเปลี่ยนไป [ออนไลน์]. ได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/937159 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน 2564].
อ้อมจันทร์ วงศ์วิเศษ และวิลาสินี ยนต์วิกัย (2560) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการธุรกิจออฟฟิตร่วมแบ่งปันในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 59 – 66
Berbegal-Mirabent, J. (2021). What Do We Know about Co-Working Spaces? Trends and Challenges Ahead. Sustainability. 2021, 13, 1416.
Capdevila, I. (2013). Knowledge dynamics in localized communities: Spaces as microclusters. [Online]. Retrieved from http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=241412 [accessed 5 June 2021].
Cochran. G. William. (1997) Sampling Techniques, 3rd edition New York: John Wiley & Sons
Deskmag. (2012). The 2nd annual coworking survey. [Online]. Retrieved from http://reseau.fing.org/file/download/128857 [accessed 6 June 2021].
Fuzi, A. (2015). Coworking spaces for promoting entrepreneurship in sparse regions: The case of South Wales. Regional Studies, Regional Science, 2(1), 462–469.
Gandini, A. (2015). The rise of coworking spaces: A literature review Ephemera: Theory and Politics in Organization, 15(1) 193-205.
Hatthawijitkul, M. & Jainto, K. (2017). Factors Affecting Customers’ Decision to Use Coworking Coffee Shops: A Case Study in Bangkok and Chon Buri Province. RMUTT Global Business Accounting and Finance Review (GBAFR). 1(3), 33-42.
Khoirunurrofik, D. (2020). The Distribution Pattern of Co-working space in Jarkarta and Determinant Factors of Consumers’ Preferences on Location Decision. IOP Conference. Series: Earth and Environmental Science (ICSDEMS 2019). 436 012018
Kotler, P. and Keller. K. L. (2009) Marketing Management, 13th edition, Harlow; Pearson Education Ltd, England.
Nunnaly, J. (1978). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill.
Rothe, P., Lindholm, A.-L., Hyvönen, A., & Nenonen, S. (2011). User preferences of office occupiers: Investigating the differences. Journal of Corporate Real Estate, 13(2), 81–97.
World Economic Forum (2020). Is this what higher education will look like in 5 years? [Online]. Retrieved from https://www.weforum.org/agenda/2020/11/higher-education-online-change-cost-covid-19 [accessed 6 July 2021]