การประยุกต์ใช้ BIM เพื่อนำเสนอเทคนิคการถอดปริมาณงาน : กรณีศึกษาอาคารศูนย์การเรียนรู้ 6 ชั้น

Main Article Content

พิมพ์ชนก ธิบดี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.) เพื่อศึกษาการวางแผนการใช้วัสดุโดยการทำ Bar-Cut List และไม่ทำ Bar-Cut List ว่ามีผลต่างกันมากน้อยเพียงใด 2.) เพื่อเป็นต้นแบบในการหาปริมาณงานด้วย Autodesk Revit (Free Software for Students & Educators Revit Autodesk) 3.) เพื่อตรวจสอบความแม่นยำและความครบถ้วนของปริมาณวัสดุที่ได้จากการสร้างแบบจำลองสารสนเทศ


            เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาโครงงานนี้มุ่งเน้นศึกษารูปแบบ (Building Information Modeling : BIM)และเลือกใช้โปรแกรม Autodesk Revit (Free Software for Students & Educators Revit Autodesk) เป็นเครื่องมือในการสร้างแบบจำลองอาคารศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์จากนั้นทำการวิเคราะห์ปริมาณวัสดุที่เกิดขึ้นจากโปรแกรมตามหลักการหาปริมาณงานเพื่อการประมาณราคาค่าก่อสร้างของประเทศไทย ทางคณะผู้จัดทำต้องการทราบถึงความแม่นยำทางตัวเลขและต้องการทราบถึงประโยชน์สูงสุดของโปรแกรมและทำการศึกษาพัฒนารูปแบบการตัดเหล็กเส้นเพื่อลดปริมาณเศษเหล็ก โดยใช้การวางแผนการตัดขนาดวัสดุในงานก่อสร้าง (Bar-Cut List) ในโครงการก่อสร้าง ให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานและก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเหลือปริมาณเศษเหล็กน้อยที่สุด เนื่องจากเหล็กเส้นเป็นวัสดุที่มีความสําคัญในโครงการก่อสร้างมีการใช้งานในส่วนโครงสร้างเป็นจํานวนมากและมีราคาสูง การใช้งานเหล็กเส้นอย่างคุ้มค่าสามารถลดปัญหาทางด้านต้นทุนของ โครงการก่อสร้างที่ต้องสูญเสียไปกับเศษเหล็กในปริมาณมาก


ผลการศึกษาได้ทราบถึงการเปรียบเทียบอาคารที่ทำ Bar-Cut List และไม่ทำ Bar-Cut List ทำให้สามารถทราบถึงการวางแผนในการตัดวัสดุในงานก่อสร้างนี้ นำไปใช้ในการตัดเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณตลอดจนการบริหารจัดการวัสดุและเศษเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการสูญเปล่าจากเศษเหลือทิ้งในขั้นตอนการหาปริมาณเหล็กเสริมคอนกรีต พบว่า ระบบสารสนเทศของอาคารสามารถทำได้ดีกว่าระบบเดิมทั้งเรื่องของการถอดปริมาณที่สามารถลดปริมาณเหล็กเสริมได้สูงสุด 17 %ความสะดวกสบาย การแก้ไขและสามารถนำไปใช้ต่อยอดในส่วนอื่นไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการวางแผนงาน และสามารถแสดงผลขั้นตอนเป็นรูป 3 มิติ ของอาคาร ซึ่งจะทำให้เข้าใจง่าย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย