บทบาทของงานสถาปัตยกรรมต่อผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองเสื่อม

Main Article Content

นิลปัทม์ ศรีโสภาพ

บทคัดย่อ

การออกแบบสถาปัตยกรรม มักมีกระบวนการการออกแบบที่ซับซ้อน เพื่อหาจุดเชื่อมโยงกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผลกระทบต่อการออกแบบ ผู้ออกแบบจึงจำเป็นต้องค้นหาวิธีการที่ทำให้เข้าใจถึงระบบอ้างอิงของโจทย์ แล้วจึงนำมาถ่ายทอดตัวแปรดังกล่าวผ่านการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่ว่าง จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อการเยียวยาก็เช่นกัน ปัจจัยด้านอาการของกลุ่มโรค ระยะเวลาการเกิดโรค รวมถึงระดับการพึ่งพิงมักเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามใหม่ๆ ที่เฉพาะเจาะจงกับงานนั้น ดังนั้น การออกแบบสถาปัตยกรรมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยสมองเสื่อมจึงมีการออกแบบพื้นที่ที่ประกอบไปด้วยรายละเอียดปลีกย่อยที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดของศักยภาพทางด้านร่างกายและ จิตใจ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม จากข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งหาข้อสรุปเบื้องต้นในการออกแบบ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชัชวาล และ ศุภลักษณ์. (2561). ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ : การพยาบาลและการดูแลญาติผู้ดูแล. วารสาร มฉก. วิชาการ 116. ปีที่ 22 ฉ.43-44
ปิยะภัทร เดชพระธรรม. (2556). การดูแลทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมและผู้ดูแล. กรุงเทพ. ภาพพิมพ์. 132-138
วรพรรณ เสนาณรงค์. (2559). รู้ทันสมองเสื่อม. กรุงเทพ: อมรินทร์เฮลท์
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล (2556).การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม. กรุงเทพ. ภาพพิมพ์ 81-90.
สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ (2553). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2552. กรุงเทพ. มูลนิธิสถาบันวิจัยและการพัฒนาผู้สูงอายุไทย
สิรินทร ฉันศิริกาญจน์. (2564). ความรู้เรื่องสมองเสื่อมสำหรับประชาชน. สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม [ออนไลน์]. ได้จาก: www.azthai.org [ค้นเมื่อ วันที่ 30 มี.ค. 2564]
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2547) การดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สิรินทร ฉันสิริกาญจน. (2552). คู่มือยืดอายุสมอง.กรุงเทพมหานคร. พิมพ์ดี
สุทิตาเรืองรัศมี. (2558). การป้องกัน การประเมินและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม. กรุงเทพ. ภาพพิมพ์. 154-160
สุวิทย์ เจริญศักดิ์. (2556).การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์. กรุงเทพ. ภาพพิมพ์ 124-131
ภาวดี อังคุสิงห์. (2559). สภาพแวดล้อมภายนอกอาคารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาว กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 85-98, 65 ปี 2559
นวลวรรณ ทวยเจริญ. (2563). การออกแบบแสงสว่างสำหรับผู้สูงอายุ.โรงพิมพ์กรุงเทพ
O’Brien, D., Fleming, R., & Dietz, B. (2014). Journal 1: Aged care: Evidence-based strategies for the design of aged-care environments. Evidence Based Design, 1, 1-69
Department of Health. (2015). Health Building note 08-02: dementia friendly health and social care environments. London: Department of Health.
Hebert LE, Bienias JL, McCann JJ, et al. Upper and lower extremity motor performance and functional impairment in Alzheimer’s disease. AM J Alzheimers Dis Other Demen 2010; 25 425-431
Marquardt, G., (2011). Wayfinding for people with dementia: A review of the role of architectural design. Health Environments Research & Design Journal, 4(2),22-41