Nakhonratchasima Historical Study from Historical Photograph : Koratian Web Application

Main Article Content

นงนุช เสนคำ
ศิริวัฒน์ สาระเขตต์
เปาลิน เวชกามา
รังสรรค์ ตาลจรัส

บทคัดย่อ

โคราเทียน (Koratian) เป็นเวปไซต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลภาพถ่ายประวัติศาสตร์ในจังหวัดนครราชสีมา  ซึ่งสัมพันธ์กับพิกัดทางภูมิศาสตร์ โดยเปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถ เข้าถึง เพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูลได้  เช่นเดียวกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ทั่วไป  มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดนครราชสีมา (2) เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์นครราชสีมาแบบออนไลน์ (3) เพื่อสร้างกลุ่มสังคมออนไลน์ที่มีความสนใจประวัติศาสตร์นครราชสีมา 


 ในการสร้างเวปไซต์โคราเทียน (Koratian) ใช้กระบวนการ คิดเชิงออกแบบ (Design thinking)  แบ่งเป็น 5  ขั้นตอนหลัก คือ   (1) การทำความเข้าใจผู้ใช้และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) การทำความเข้าใจปัญหา (3) การสร้างแนวคิดและแนวทางแก้ปัญหา (4) การสร้างต้นแบบ  (5) การทดสอบ (Test)  เมื่อมีการเปิดใช้เวปไซต์ในรุ่นแรก ได้พบปัญหาและ สิ่งที่ต้องปรับปรุง คือ  ความรวดเร็วในการเรียกข้อมูล  การเข้าถึงทุกครั้งต้องลงชื่อเข้าใหม่   การปักหมุดระบุพิกัดบางครั้งทำให้ไม่สามารถโพสต์รูปได้  ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มีผู้ใช้มากขึ้น เช่น การประกวดภาพถ่าย การสร้างเฟซบุ้คแฟนเพจ ฯลฯ    และในอนาคตอาจมีการปรับปรุงให้เป็นแอพพลิเคชั่นเพื่อความสะดวกในการใช้งาน หรือเพิ่มระบบแชร์ไปสู่สื่อสังคมออนไลน์ประเภทอื่นๆได้ด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ฐิติรัตน์ ศิริบวรรัตนกุุล. (2560). ส่วนต่อผสานผู้ใช้และการออกแบบปฏิสัมพันธ์. กรุุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนาริหารศาสตร์.

ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุุธยา และชูจิต ตรีรัตนพันธ์. (2560). การคิดเชิงออกแบบ: การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุุงเทพฯ : ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC). [ออนไลน์์]. ได้จาก: ้ttp://resource.tcdc.or.th/ebook/Design.Thingking.Learning.by.Doing.pdf. [สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2563].

มานิตย์ อาษานอก. (2561). การบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 1(1), 6-12.

รัชนีพร แก้ววิชิต. (2561). การรับรู้และการเข้าถึงผู้ใช้งานแอปพลิเคชั่น BTS Sky Train. กรุุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รังสิมา กุุลพัฒน์, จิตรมณี ดีอุดมจันทร์, มาริสา หิรัญตียะกุุล. (2562). เมืองนครราชสีมา: การศึกษาเมืองเก่าผ่านประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานและมรดกทางสถาปัตยกรรม. วารสารหน้้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, 1(16), 62-101.

Vichit, V. (2015). Design Thinking Bootcamp Bootleg. [Online]. Retrieved from: https://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/design-thinking-bootcamp-bootleg. [accessde Mar 20, 2016].